ทำอย่างไรดีเมื่อเป็นโรคนิ้วล็อค? 

ทำอย่างไรดีเมื่อเป็นโรคนิ้วล็อค? 

โรคนิ้วล็อค เป็นโรคที่พบบ่อยในช่วงวัยทำงานจะมีอาการปวด ติดขัด หรือสะดุดเวลาเคลื่อนไหวนิ้วมือ ซึ่งอาจเป็นเพียงน้ำเดียวหรือเป็นหลายนิ้วในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือเหยียดนิ้วมือจะรู้สึกขัดโดยเฉพาะตอนเช้าตอนเช้าหลังตื่นนอน พอใช้มือไปสักพักก็จะกำแบมือได้ดีขึ้น ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อค เมื่อเป็นมากขึ้นจะต้องใช้มืออีกข้างเพื่อเหยียดนิ้วออกจากการล็อคในรายที่เป็นรุนแรงจะมีการข้อบวมติดเหยียดนิ้วได้ไม่สุด ติดแข็งจนใช้งานไม่ได้


สาเหตุ เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วมือจากการใช้งาน เช่น หิ้วของ ทำงานบ้านล้างจานซักผ้า หรือผู้ที่ทำงานกับแป้นพิมพ์ เขียนงานเอกสาร หรือผู้ที่มีอาชีพคนสวนใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ช่างที่ใช้ไขควงหรือเลื่อย นักกอล์ฟ นักยูโด เมื่อมีอาการอักเสบของเปลือกหุ้มเส้นเอ็นจะเกิดการบวมและหนาตัว จึงรู้สึกเจ็บและนิ้วล็อคตามมา

การรักษา

  • พักการใช้งาน ลดกิจกรรมที่ใช้มือให้น้อยลง
  • การใส่อุปกรณ์ตามนิ้วมือให้อยู่ในท่าเหยียด ขณะนอนหลับ
  • การแช่น้ำอุ่นหรือประคบอุ่นและออกกำลังกายยืดเหยียดนิ้วมือ
  • ยาแก้ปวด ลดการอักเสบของเปลือกหุ้มเส้นเอ็น ถ้าอาการชา ไม่ทุเรา อาจพิจารณาการฉีดยา สเตียรอยด์เฉพาะที่แต่ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้ง การผ่าตัดจะทำในรายที่เป็นรุนแรง หรือ ไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้น

วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อค

1.      ไม่หิ้วของหนักเกินไป ถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทน เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ

2.      ควร ใส่ถุงมือ หรือห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้นและจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งานขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ

3.      งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่องทำให้เมื่อยล้า หรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆและออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง

4.      ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น

5.      ถ้ามีข้อมือฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบเบาๆในน้ำ จะทำให้ข้อฝืดลดลง

 

ข้อมูลโดย : นพ.ไชยยันต์ ประชาศิลป์ชัย

Comments

Share Tweet Line