ทำตัวให้เป็น BETA ในทุกวัน กลยุทธ์ลด Skill Gap หรือช่องว่างทางความสามารถของคนทำงาน

ทำตัวให้เป็น BETA ในทุกวัน  กลยุทธ์ลด Skill Gap หรือช่องว่างทางความสามารถของคนทำงาน

การทำธุรกิจในยุค AI ก่อให้เกิดความท้าทายทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงจนเกินตั้งตัว Skooldio ผู้นำด้านเทคโนโลยีการศึกษาและพัฒนาทักษะการทำงานแนะวิธีช่วยลด Skill Gap สร้างศักยภาพที่ตอบโจทย์ธุรกิจแห่งโลกอนาคตด้วยการสร้างนิสัยความเป็น BETA ในทุกๆวัน  


​ช่องว่าง Skill Gap ของประเทศไทยในปัจจุบัน เหตุผลหลักมาจากการที่เทคโนโลยีพัฒนาเร็วเกินไปทำให้คนปรับตัวไม่ทัน เด็กจบทำงานไม่ตรงสาย มีความรู้ไม่ตรงกับที่ธุรกิจและตลาดแรงงานต้องการ สิ่งนี้กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของประชากรวัยแรงงานตลอดจนผู้บริหารและนักธุรกิจทั่วประเทศ ซึ่งการที่จะลดช่องว่างทางความสามารถเหล่านั้นได้ การหมั่นพัฒนาตนเองในด้านต่างๆอยู่เสมอถือเป็นสิ่งจำเป็น

​ดร. วิโรจน์ จิรพัฒนกุล ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท สคูลดิโอ จำกัด ผู้นำด้านเทคโนโลยีการศึกษาและพัฒนาทักษะการทำงานแห่งโลกอนาคตเครือ เลิร์น คอร์ปอเรชั่น จำกัด อธิบายถึงคำว่า BETA กับการลด Skill Gap ว่า “BETA” ในความหมายที่คนรู้จักคือ Version ทดลองใช้ จะดีไม่ดีอย่างไร ขาดตกบกพร่องด้านไหน จะต้องเร่งพัฒนาเพื่อให้สมบูรณ์แบบเพื่อนำไปสู่การออก Version จริงในที่สุด เช่นเดียวกับคนทำงานและนักธุรกิจ ในสภาพแวดล้อมที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาอัพเดตตัวเองให้ก้าวทันโลกอยู่เสมอขาดความรู้ความสามารถด้านไหนต้องหมั่นค้นหาเพราะหากเรายิ่งพัฒนาตนเองให้เก่งในรอบด้านแล้ว ปัญหา Skill Gap หรือช่องว่างด้านทักษะกับความต้องการของตลาดย่อมหมดไปอย่างแน่นอน”

​​ทั้งนี้ ทาง Skooldio กำลังจะจัดงาน “BETA Conference by Skooldio x True Digital Park ” ที่ True Digital Park (ติด BTS ปุณณวิถี) ในวันที่ 31 มีนาคม นี้โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญกว่า 12 คน จากบริษัทชั้นนำระดับโลก มาแชร์ประสบการณ์ทักษะการทำงานที่จำเป็นในโลกอนาคต ได้แก่ Designs Technology Business และ Data ให้เหล่า People Manager,Developers, Designers, Entrepreneurs ตลอดจนนักศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ทำงานในสายHRD ที่ต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นทรัพยากรที่ตอบโจทย์การเติบโตขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ

​โดยเหล่า Speakers ด้านการอัพสกิลแถวหน้าของไทยที่จะมาร่วมแชร์ประสบการณ์ มีดังนี้

​1.ดร.ศุภศรณ์ สุวจนกรณ์ อดีตนักวิจัยที่ Google Brain หนึ่งในคนไทยไม่กี่คนที่มีโอกาส ขึ้นพูดในเวทีระดับโลกอย่าง TED เกี่ยวกับงาน “3D Face Reconstruction” ปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่ VISTEC 

​2. ดาริน สุทธพงศ์ อดีตผู้นําทีม User Experience ของ Amazon ที่ร่วมพัฒนาและ ออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ด้าน Delivery และยังเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับStartup อีกหลายบริษัท ใน Silicon Valley ปัจจุบันก่อตั้ง Startup ชื่อ Indie Dish แอพพลิเคชั่นสั่งอาหารเพื่อสุขภาพ

​3. เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล อดีตนักออกแบบจากStanford d.school ผู้แปลหนังสือ ‘คู่มือ ออกแบบชีวิตด้วย Design Thinking’ (Designing Your Life: How to Build a Well-Lived, Joyful Life) และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญการประยุกต์ใช้ Design Thinking 

​4. พรทิพย์ กองชุน หัวหน้าฝ่ายการตลาดคนแรกของ Google Thailand และได้นําพาธุรกิจ Google ในประเทศไทยให้ประสบความสําเร็จตาม เป้าหมาย รวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากมาย เช่นGoogle Finance, Google Search, Google Mapsปัจจุบันทําสตาร์ทอัพของตนเองชื่อว่า Jitta Thailand 

​5. ปัญจมพงศ์ เสริมสวัสดิ์ศรี หรือ‘ปันเจ’ Full-Stack Developer ผู้มีประสบการณ์มากมายจนได้รับตําแหน่งเป็น Google Developer Expert ด้าน Web Technologies ประจําประเทศไทย ปัจจุบันทําInsureTech ชื่อว่า Acrosure แพลตฟอร์มที่ช่วยบริษัทประกันในการให้บริการบนธุรกิจออนไลน์ ผ่านระบบInsurance API (Application Programming Interface) Gateway

​6.ดร.วิโรจน์ จิรพัฒนกุล อดีต Data Scientist ที่Facebook ผู้มีประสบการณ์ในการนําข้อมูลมหาศาลของผู้ใช้งานมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนา Algorithm และFeature ใหม่ๆ ให้ประสบการณ์การใช้งานดียิ่งขึ้นปัจจุบันก่อตั้ง Skooldio แพลตฟอร์ม “อัพสกิล” ให้องค์กรธุรกิจเเละยกระดับการศึกษาไทย ผ่านการพัฒนาทักษะที่จําเป็นแห่งโลกอนาคต 

​7. อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้รอบรู้เรื่องประเทศจีนมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ผู้เขียนหนังสือ “China 5.0 สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่และแผนการใหญ่ AI"

Comments

Share Tweet Line