ริชาร์ด โคห์ ไฟน์ อาร์ต เสนอผลงานนิทรรศการเดี่ยว ไอเฟล ชอง

ริชาร์ด โคห์ ไฟน์ อาร์ต เสนอผลงานนิทรรศการเดี่ยว ไอเฟล ชอง

 ริชาร์ต โคห์ ไฟน์ อาร์ต (RKFA-KL) มีความยินดีที่จะประกาศเปิดงานนิทรรศการเดี่ยว ไอเฟล ชอง (เกิดในปีพ.ศ. 2520) งานนิทรรศการจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 - 27 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ ริชาร์ต โคห์ ไฟน์ อาร์ต โดยจะมีการจัดแสดงผลงานใหม่ทั้งหมด 12 ชิ้น ผ่านงานภาพถ่ายโทนขาว-ดำ (Piezography) ที่พิมพ์ด้วยกระดาษ โทริโนโกะ (Torinoko)


หลายปีที่ผ่านมา ชองได้ริเริ่มการเก็บภาพด้วยเลนส์ที่มีความแตกต่างออกไป ซึ่งวิธีการของเขาถือเป็นที่รู้จัก ด้วยวิธีการนำเสนอที่เน้นการสื่อสารในรูปแบบนามธรรมที่ไม่สร้างสรรค์เกี่ยวกับความเป็นและความตาย รวมถึงทิวทัศน์ที่ดูเงียบเหงา ซึ่งชองได้ศึกษาวิธีการเล่าเรื่องแนวนี้เพิ่มขึ้นอย่างละเอียดโดยเน้นอรรถบทที่มุ่งไปที่ความเปราะบาง ความเปลี่ยนแปลง ความไม่จีรังยั่งยืน และการย่อยสลาย นิทรรศการของชองครั้งนี้จัดขึ้นหลังจากชองเพิ่งอายุได้ 40 ปี และถือเป็นรูปแบบการเข้าใจอย่างลึกซึ้งในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่วันนึงก็ต้องจากไป

ใน ผมหรี่แสงอาทิตย์เพื่อให้ยามค่ำมาถึงเร็วขึ้น (I Dim The Sun So That Dusk Arrives Earlier) ชองต้องการสื่อถึงการไร้ซึ่งความรู้สึกของยุคแห่งการรักษาด้วยยา ผ่านภาพถ่ายโทนขาว-ดำ (Piezography) ที่มีดอกไม้ที่กำลังเหี่ยวเฉาเป็นสื่อสำคัญ ภาพพิมพ์ได้มีการใช้สุนทรียภาพของกระดาษที่มีคุณภาพ ผสานการประดิษฐ์ผ่านการใช้หมึกในการปรับภาพถ่ายโทนขาว-ดำได้อย่างป็นเอกลักษณ์ หมึกจึงเกิดการสะท้อนและกระจายแสงในรูปแบบที่พิเศษ ก่อให้เกิดลักษะที่ดูสวยหรูดั่งผ้ากำมะหยี่ เมื่อเปรียบเทียบกับงานนิทรรศการของเขาในปี 2561Mud & Mashed Hydrangea Leaves and Salad of Dandelion Greens งานของปีนี้ถือเป็นปีที่ชองตั้งใจซ่อนความมืดมนเข้ามาเป็นส่วนหลักของงานศิลปะที่เน้นแนวคิด อย่างไรก็ตาม ความเหนือชั้นของภาพถ่ายโทนขาว-ดำ (Piezography) ที่สามารถนำความมืดและปรับออกมาให้เกิดเป็นแสงและเงาได้อย่างแตกต่าง และสิ่งเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ทำให้สีของงานมีความกลมกลืนเป็นอย่างดี กระบวนการหล่อหลอมของภาพถ่ายและภาพวาดในงานนี้ จึงถือเป็นความตั้งใจของเขาที่จะสื่อความรู้สึกที่เหนือความจริงผสานกับความไม่แน่นอนให้กับผู้ชม



โดยงานนี้ ชองตั้งใจนำชื่อยาต้านอารมณ์ต่างๆมาเป็นชื่องานศิลปะของเขา เช่น ยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) ยาเดซิพรามีน (Desipramine) ยาเดสเวนลาฟาซีน (Desvenlafaxine) และอื่นๆ ที่เขาต้องการสื่อให้เห็นถึงความชินชาทางด้านอารมณ์ของมนุยษ์ที่ได้รับยาที่สั่งโดยแพทย์ด้วยความตั้งใจที่จะรักษาผู้ป่วยที่ไม่สามารถจัดการภาวะทางอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง โดยผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามักมีอาการที่ดีขึ้น แต่ในบางรายก็แลกมาด้วยภาวะการตัดขาดจากอารมณ์และโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถจำแนกสุข หรือ ทุกข์ได้อีกต่อไป

การพูดถึงการเสพย์ติดเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชองต้องการสื่อสารกับผู้ชม โดยมีการเปรียบเทียบเส้นขนานระหว่างสุขภาพจิตและความมั่นคงทางอารมณ์ของมนุษย์ กับดาวเคราะห์ดวงหนี่ง แม้ว่าจะมีข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเส้นใยสังเคราะห์ ยกตัวอย่างเช่นพลาสติกนั้นเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ หากแต่มนุษย์ก็ยังเพิกเฉย เฉกเช่นเดียวกันกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ที่ผู้คนมักเชื่อว่ายานี้ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะรักษาและ อาจมีอาการดื้อยาหากใช้เป็นเวลานาน เมื่อเปรียบเทียบกัน พลาสติกกับยาจึงเป็นสึ่งที่ถูกแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง โดยชองกล่างว่า “ชีวิตคนเราต้องพึ่งพายาพวกนี้ เหมือนกับดอกไม้พวกนี้ที่อยู่ในงานนิทรรศการ ที่จำเป็นต้องพึ่งพาพลาสติกในการปกป้องกลีบที่เปราะบาง” ที่สำคัญไปกว่านั้น งานนิทรรศการครั้งนี้ ชองต้องการสื่อถึงความเปราะบางของชีวิตและเผยให้เห็นว่ามนุษย์พึ่งพาสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ในการดำรงชีวิตมากเพียงใด

Comments

Share Tweet Line