ริชาร์ด โคห์ ไฟน์ อาร์ต เสนอผลงานนิทรรศการรเดี่ยวของศิลปิน มินสเตริล คูก (Minstrel Kuik)

 ริชาร์ด โคห์ ไฟน์ อาร์ต เสนอผลงานนิทรรศการรเดี่ยวของศิลปิน มินสเตริล คูก (Minstrel Kuik)

ริชาร์ต โคห์ ไฟน์ อาร์ต (สิงคโปร์) มีความยินดีนำเสนอการแสดงนิทรรศการเดี่ยวของศิลปิน มินสเตริล คูก (Minstrel Kuik) (เกิดพ.ศ. 2529) โดยนิทรรศการจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 ถึง 25พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ที่ ริชาร์ด โคห์ ไฟน์ อาร์ต สิงคโปร์ จะมีการนำเสนอชิ้นงานใหม่ๆจำนวน 19 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดจากถ่านไม้ ศิลปะเปลี่ยนแนวโดยใช้ผ้าในการต่อประกอบ และหนังสือรวมชิ้นงานพิมพ์ด้วยเลเซอร์ปรินเตอร์ (งานพิมพ์)


ที่เมอร์เดก้า เดอะ โลนซัม คลับนี้ คูกยังคงมีความพยายามที่จะถอดความหมายของคำว่าประชาธิปไทยในประเทศมาเลเซีย และผู้แทนราษฎรมีระบบการทำงานอย่างไรเมื่อต้องเผชิญหน้ากับเรื่องราวการเมืองที่มีทั้งวาทกรรม กลยุทธ์ และกลเม็ดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เธอตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบกลไกของรัฐเมื่อครั้งที่มีการประกาศอิสรภาพและการเลือกตั้งทั่วไป สำหรับการตั้งคำถามเรื่องการประกาศอิสรภาพนั้น เธอได้สร้างชิ้นงานโดยการนำธงของพรรคต่างๆมาตัดออกเป็นชิ้นๆ และบรรยายใหม่โดยการนำเอาชิ้นส่วนของธงต่างผืนมาประกอบกันใหม่ การตัดประกอบชิ้นธงนั้นทำขึ้นด้วยวิธีการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการฉีกผืนธงให้ขาด รีดเรียบ วางเป็นชั้นๆ ทอ เรียงให้มีหรือไม่มีช่องว่างระหว่างชิ้น และเย็บ จากผลงานชุดนี้นี่เอง คูกได้สรรค์สร้างภาษาใหม่ที่มองเห็นได้ด้วยตา โดยใช้องค์ประกอบศิลป์ที่เน้นถึงสาระสำคัญของงาน ในขณะที่การนำเสนอและวิธีการสร้างชิ้นงานนั้นก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์ที่เธอได้รับในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ การแบ่งปันและการต่อสู้กับคนแปลกหน้าและคนที่ไม่เคยรู้จักกันเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ยืนในสังคม ที่สำคัญก็คือ ผลงานชุดนี้นับเป็นสิ่งที่จะทำให้ศิลปินคนอื่นๆได้ระลึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและการเมือง

(ข้อมูลประวัติศาสตร์)

ตามประวัติศาสตร์ประเทศมาเลเซียนั้น วันเมอร์เดก้านับเป็นวันที่ประเทศประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับการปกครองของประเทศอังกฤษอีกต่อไป ซึ่งก็คือวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 หลังจากนั้นได้เกิดภาวะตึงเครียดทางเชื้อชาติขึ้นในประเทศและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนเกิดจราจลในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2518 คณะกรรมการปฏิบัติการแห่งชาติซึ่งในขณะนั้นทำหน้าที่เป็นรัฐบาลชั่วคราวตัดสินใจที่จะประกาศให้มีวันวันเมอร์เดก้า เพื่อเป็นวิธีที่จะนำมาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการสร้างชาติ และได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันนี้ของทุกปี ใน พ.ศ. 2513 มีการเสนอให้ฉลองด้วยธีมของ ความเป็นมิตรและความร่วมมือร่วมใจ โดยนับเป็นธีมเพื่อการฉลองครั้งแรกหลังจากเหตุจราจลในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 และกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนปัจจุบัน

คูกกล่าวว่า “การนำเอาธีมของเมอร์เดก้ามาจับคู่กับการดำรงตำแหน่งที่สืบทอดต่อกันมาของนายกรัฐมนตรี จะทำให้เราเห็นได้ชัดเจนถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศมาเลเซียภายใต้ผู้นำแต่ละท่านซึ่งมีแนวคิดทางการเมืองและภาพลักษณ์ของความเป็นพ่อในรูปแบบที่แตกต่างกัน เมื่อเรานำเอาอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของชาติมาสอดประสานกันและใส่การบรรยายเข้าไปเพื่อให้เห็นเป็นภาพแล้ว เราจะทำให้ปัจเจกบุคคลในแต่ละชาติพันธุ์และสมาชิกชนกลุ่มน้อยเอาชนะเหนืออุปสรรคได้อย่างไร” หลายปีที่ผ่านมา การแบ่งชนชั้นและชาชาติในสังคมของมาเลเซียค่อยๆเปิดเผยตัวเองให้เห็นชัดขึ้นทีละน้อยราวกับการเผยตัวของสิ่งที่ทับถมกันอยู่เป็นเวลานาน สำหรับคูกแล้วนั้น การต่อสู้กับความรู้สึกแปลกแยกของคนในสังคมจะยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งมันจะเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมพิกลพิการและกลืนกินอิสรภาพของคนไปอย่างช้าๆ ด้วยเหตุนี้เอง ความหมายที่แท้จริงของวันเมอร์เดก้าจึงควรจะได้รับการปลุกให้ฟื้นขึ้นในโลนซัม คลับ

มินสเตริล คูก (เกิดปีพ.ศ.2519) เป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน เกิดที่เมืองปันไท เรมิส หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ที่ประเทศไต้หวันแล้ว เธอได้ศึกษาต่อจนจบปริญญาโทด้านการถ่ายภาพที่เมืองอาร์ลส์ ประเทศฝรั่งเศส การที่เธอเป็นผู้กระทำทางสังคม (social actor) ทำให้คูกประสบกับความตึงเครียดทางสังคมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคตินิยมที่แตกต่าง การกีดกันทางสังคม การบ่งชี้ตัวตนและความสนใจ ประสบการณ์ที่เธอได้รับนี้ไม่เพียงแต่ทำให้เธออยู่ในสถานะคนกลางระหว่างการเมืองและผู้มีอำนาจ แต่ยังทำให้เธอมีมุมมองด้านศิลปะเกิดขึ้นด้วย เธอมีความเชื่อว่า พื้นที่ส่วนตัวคือสมรภูมิหลักของคตินิยม และความสนใจด้านเศรษฐกิจและการเมือง เธอจึงเริ่มมองว่าศิลปะในฐานะที่มันเป็นวิถีการเดินทางเช่นเดียวกับประวัติศาสตร์  ซึ่งคนเราล้วนมีมุมมองในศิลปะที่แตกต่างและเปลี่ยนแปลงได้จากการอ่าน คิด กระทำ และการเปลี่ยนแปลงของมุมมองนั้นจะสามารถสืบย้อนกลับไปยังจุดตั้งต้นได้

ริชาร์ต โคห์ ไฟน์ อาร์ต เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการแนะนำศิลปะร่วมสมัยตะวันออกเฉียงใต้สู่ประเทศมาเลเซียและในภูมิภาค ทำหน้าที่ส่งเสริมศิลปินเกิดใหม่ที่มากด้วยความสามารถและให้เป็นที่ยอมรับ แกลลอรี่นำผลงานศิลปะทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มุ่งมั่นในแนวทางที่เกิดขึ้นใหม่ และสื่อที่ท้าทายความสามารถ ออกจัดแสดงโดยเป็นประจำ

Comments

Share Tweet Line