มูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ จัดเสวนา เอเชีย แปซิฟิก เฮาส์ซิ่ง ฟอรั่ม ครั้งที่ 7

มูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ จัดเสวนา เอเชีย แปซิฟิก เฮาส์ซิ่ง ฟอรั่ม ครั้งที่ 7
มูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ ประเทศไทย ได้จัดการเสวนากับสื่อมวลชนเนื่องในการประชุม เอเชีย แปซิฟิก เฮาส์ซิ่ง ฟอรั่ม ครั้งที่ 7 ที่กำลังจะขึ้นในวันที่ 16-19 กันยายน นี้ ณ โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ กรุงเทพฯ งานนี้ถือเป็นการรวบรวมผู้นำวงการ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัย และนักคิดรุ่นใหม่ในวงการที่อยู่ธุรกิจที่อยู่อาศัยมากมาย
 
เอเชีย แปซิฟิก เฮาส์ซิ่ง ฟอรั่ม เป็นหนึ่งในหลายๆโครงการของมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ ที่มีจุดมุ่งหมายในการเป็นผู้นำในการสร้างการรับรู้ที่อยู่อาศัยในฐานะที่เป็นรากฐานที่สำคัญในการขจัดอุปสรรคเพื่อชีวิตและความเป็นอยู่ สุขภาพที่ดี รวมไปถึงมีความมั่นคงทางการเงิน เปรียบเสมือนพื้นที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ของผู้ที่อยากจะร่วมกัน คิดค้นนวัตกรรมในการแก้ปัญหานี้ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
 
การเสวนาและอบรมในการประชุม เอเชีย แปซิฟิก เฮาส์ซิ่ง ฟอรั่ม ครั้งนี้จะมีการให้รางวัลนวัตกรรมการแก้ปัญหาทันสมัยที่นำไปสู่บ้านเมืองอันปลอดภัยยืดหยุ่นและยั่งยืนแล้ว เจนนิเฟอร์ โอมาน the Associate Director of Market Systems and Entrepreneurship of the Terwilliger Center for Innovation in Shelter-Habitat ของมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ ยังได้กล่าวถึงรางวัลนี้ว่า มูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติต้องการที่จะเชิดชูนวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของบ้านเมืองเราในอนาคต
 
เจนนิเฟอร์ โอมานยังพูดถึง รางวัลทางด้านนวัตกรรมเพิ่มเติมด้วยว่า “จะมีการมอบรางวัลนี้ในวันที่ 17 กันยายน 2562 และมีผู้เข้าร่วมจากหลากหลายองค์การจากหลายภาคส่วนอย่าง ภาครัฐ และ นักคิดรุ่นใหม่ไฟแรง ที่เราจะได้เจอกับพวกเขาในรูปแบบ TED TALK”
 
คุณกชกร วรอาคม  ผู้ก่อตั้ง Porous City Network หนึ่งในผู้บรรยายในฟอรั่มครั้งนี้ ได้พูดคุยกับสื่อถึงฟอรั่มนี้ที่จะเข้ามาช่วยประเทศไทยในภาคการเคหะ คุณกชกรยังเน้นย้ำเรื่องพื้นที่สีเขียว ที่ควรจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างบ้านและเมืองที่มีความยืดหยุ่นปลอดภัย และการทำให้การเคหะมีความสมดุลและยั่งยืนที่เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งการประชุม เอเชีย แปซิฟิก เฮาส์ซิ่ง ฟอรั่ม ครั้งที่ 7 นี้ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เหล่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้พบปะพูดคุย ร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี “ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการเรียนรู้จากฟอรั่มนี้ จะทำให้เราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย และวิธีการเพื่อพัฒนาการเคหะไม่ว่าจะเป็นบ้านหรืออาคารที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในปัจจุบัน” คุณกชกร เสริม
 
ผศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “ตอนนี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรให้ความร่วมมือกันหันมาแก้ไขปัญหา ให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยที่ครบครัน ยืดหยุ่น และยั่งยืนต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์”
 
ด้านคุณพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ ได้ร่วมแบ่งปันเรื่องบ้านที่ราคาเข้าถึงได้ว่า “บ้านที่ราคาเข้าถึงได้นี้เป็นสิ่งสำคัญที่คนในเมืองต้องการมากพอๆกับในเขตนอกเมือง ปัญหาในปัจจุบันคือ 70 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณไปกระจุกอยู่ภายในเมืองใหญ่ซะส่วนมาก ดังนั้นบ้านที่ยืดหยุ่นและราคาเข้าถึงง่าย ทุกคนควรจะเห็นเป็นสิ่งสำคัญเพราะบ้านเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ของมนุษย์ ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่ใช่ความรับผิดชอบในภาครัฐเท่านั้น แต่ควรได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อผลักดันด้านที่อยู่อาศัยในราคาที่ถูกลง”
 
คุณทิม โล้ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ ประเทศไทย เผยถึงความท้าทายเรื่องบ้านที่อยู่อาศัยที่ราคาเข้าถึงได้ว่า ปัญหาหลักๆเกิดมาจากการเข้าถึงได้ยากของวัสดุภัณฑ์ และบริการสร้างบ้านที่ราคาถูกและยั่งยืน นอกจากนี้ครอบครัวที่รายได้น้อยเองยังไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงิน ที่การกู้หรือสินเชื่อมักเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขา
 
มูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ เชื่อว่า ความรู้และความร่วมมือที่ได้จากการประชุม เอเชีย แปซิฟิก เฮาส์ซิ่ง ฟอรั่ม ครั้งที่ 7 นี้ จะนำมาสู่ก้าวสำคัญสู่ความสำเร็จเรื่องบ้านที่ราคาเข้าถึงได้สำหรับครอบครัวที่รายได้น้อยและไม่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการสร้างวัสดุที่มีความยั่งยืน และแนวทางใหม่ๆ
 
การประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นหนึ่งในหลายๆโครงการที่อยู่อาศัยของมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ ที่มีจุดมุ่งหมายในการเป็นผู้นำในการสร้างการรับรู้ที่อยู่อาศัยในฐานะที่เป็นรากฐานที่สำคัญในการขจัดอุปสรรคเพื่อชีวิตและสุขภาพที่ดี รวมไปถึงมีความมั่นคงทางการเงิน เพื่อประเทศไทยและประเทศอื่นๆทั้งในเอเชียและแปซิฟิค
 
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมวิชาการครั้งนี้ คลิกที่: https://bit.ly/APHF7-register


Comments

Share Tweet Line