สอวช. เสนอ ร่างสมุดปกขาว“การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่”ตั้งเป้าปี 2040 ลดปล่อยมลภาวะ 100%

สอวช. เสนอ ร่างสมุดปกขาว“การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่”ตั้งเป้าปี 2040 ลดปล่อยมลภาวะ 100%

ตามที่ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้ร่วมกันจัดทำร่างสมุดปกขาว “การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่” โดยเห็นความจำเป็นในการกำหนด มาตรการและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ PM2.5 จากการคมนาคม และการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนในประเทศไทย ในอีก 20 ปี หรือปี 2040 ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนายานอุตสาหกรรมยนต์สมัยใหม่ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้าน Autonomous, Connected, Electric, Shared Vehicles (ACES) และได้จัดสัมมนาเพื่อรับฟังการนำเสนอและร่วมวิพากษ์จากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้ชานรับ ว่าเป็นร่างสมุดปกขาวที่สมบูรณ์แบบ เหลือแต่เพียงการเติมเต็มให้เกิดขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามภาคเอกชนยังเชื่อว่าจะสามารถทำได้เร็วกว่านั้น 10 ปี โดยเชื่อว่าการลดการปล่อยมลพิษจะเป็นศูนย์ 100% ได้ ไม่เกินปี 2030 


ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งจาก คลื่นความร้อน ผลกระทบจากพายุที่มีความรุนแรงสูง สถานการณ์น้ำท่วม ภัยแล้ง รวมถึงสถานการณ์ PM 2.5 ผนวกกับสถานการณ์การแข่งขันด้านการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่รุนแรงในระดับโลก ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเร่งปรับตัว โดยเมื่อปี 2558 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายให้ประเทศไทยเป็น “ฮับ หรือศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน” และได้ดำเนินการด้านต่างๆ มาตลอดจนถึงปัจจุบัน สอวช.และหน่วยงานพันธมิตรดังกล่าวข้างต้น จึงได้เสนอให้มีการตั้งเป้าหมายของประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ PM2.5 จากการคมนาคม และการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนในประเทศไทย ในอีก 20 ปี โดยการเพิ่มสัดส่วนการจำหน่ายยานยนต์ที่ปล่อยไอเสียต่ำ  (Low Emission Vehicle : LEV)  และมุ่งไปสู่ยานยนต์ที่ปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicle : ZEV) รวมถึงมีการกำหนดแผนที่นำทางในอีก 20 ปี โดยในปี 2040 สัดส่วนการจำหน่ายยานยนต์ใหม่ ควรเป็น ZEV 100% ของจำนวนรถที่มีการจำหน่ายในประเทศ และควรมีหัวจ่ายไฟฟ้าสาธารณะที่เข้าถึงได้ จำนวน 40,000 แห่งทั่วประเทศ

ดร. กิติพงค์ กล่าวว่า ในปี 2561 ไทยมียอดจดทะเบียนรถ  ZEV ทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถไฟฟ้าแบตเตอรี่ รถจักรยานยนต์ 2 ล้อไฟฟ้าแบตเตอรี่ รวมกันต่ำกว่า 1% ของยานยนต์ที่จำหน่ายทั่วประเทศ มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการไทยเป็นสัดส่วน 0.5% เมื่อเทียบกับต่างชาติในไทย และยังมีบุคลากรที่มีความ เชี่ยวชาญด้าน ACES มีจำนวนน้อย หากไทยต้องการจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดมลพิษทางอากาศจากการคมนาคม และยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมยานยนต์ ควบคู่ไปกับการพาประเทศบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ตามที่การประชุมรัฐภาคีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 หรือ COP21 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่กระทรวงพลังงานได้กำหนดมาตรการลดการใช้พลังงานในภาคขนส่ง โดยตั้งเป้าหมายใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และประเภทแบตเตอรี่ (BEV) รวมกัน 1.2 ล้านคัน ภายในปี ค.ศ. 2036

 

นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ให้เป็นหนึ่งใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ประเทศไทยจึงควรกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่มีความชัดเจน รวมถึงมาตรการและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่างๆ โดยจะการทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน ส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง กำหนดมาตรการรองรับอื่นๆ อาทิ ข้อกำหนดและ แรงจูงใจทางภาษีและไม่ใช่ภาษี สนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม, โครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนาและการทดสอบ และ การพัฒนามาตรฐานและกฎระเบียบ ในด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อการลดการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ PM2.5 จากการคมนาคม เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน ตลอดจนการพัฒนากำลังคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญรองรับอนาคต สนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างภาคเอกชนสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยจากทั้งในและต่างประเทศ

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line