นักวิชาการวิศวะมหิดลเผยดัชนีชี้วัด ประสิทธิภาพรถไฟฟ้าไทย 6 ด้าน

นักวิชาการวิศวะมหิดลเผยดัชนีชี้วัด ประสิทธิภาพรถไฟฟ้าไทย 6 ด้าน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย กลุ่มสาขาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง ได้ดำเนินการโครงการศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โดยศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสมเสนอให้หน่วยงานที่ให้บริการเดินรถ ส่งข้อมูลการให้บริการมาที่ภาครัฐ เพื่อการกำกับดูแลการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการเดินรถให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง


ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  เผยว่า ปัญหาทั่วไปที่พบในการใช้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในประเทศไทย มีเรื่องข้อมูลการเดินทางไม่เพียงพอสำหรับผู้ใช้บริการในการวางแผนการเดินทาง บัตรโดยสารที่หลากหลายชนิดตามผู้ให้บริการ  คิวซื้อบัตรโดยสารที่ค่อนข้างยาว ความไม่สะดวกในการเข้าออกและใช้งานสถานี  ความหนาแน่นของผู้ใช้บริการในช่วงเวลาเร่งด่วน  ความสับสนของชื่อสถานี ความล่าช้าของการบริการ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลมาจากการมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการให้บริการเดินรถหลายหน่วยงาน ภาครัฐขาดมาตรฐานและมาตรการกำกับดูแลที่ชัดเจน และไม่ได้ใช้ ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลเพื่อการวางแผนหรือพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่อง

ดร.จิรพรรณ เลี่ยงโรคาพาธ ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการจัดการโลจิสติกส์และวิศวกรรม คณะวิศวะมหิดล ในฐานะนักวิจัยหลักของโครงการศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน กล่าวว่า การที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการได้นั้น สิ่งสำคัญที่จำเป็นอันดับแรกคือ การหาดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ หรือ Key Performance Indicators (KPIs) ที่เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการเส้นทางต่างๆ ก่อนว่า ควรจะวัดอะไร เมื่อใด และอย่างไร จึงจะทำการการวัดประสิทธิภาพการทำงานของรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทาง เพื่อดูว่าปัจจุบันประสิทธิภาพตามตัวชี้วัดของแต่ละเส้นทางอยู่ระดับใด เมื่อเปรียบเทียบกับเส้นทางอื่นในประเทศไทย และอ้างอิงกับการดำเนินงานรถไฟฟ้าในต่างประเทศ และสุดท้ายจึงเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นต่อไป  

ดร. จิรพรรณ กล่าวต่อว่า จากการทบทวนการศึกษาการวัดประสิทธิภาพของต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง อังกฤษ รวมทั้งหน่วยงานสากล CoMET and Nova ที่ทำหน้าที่ในการเปรียบเทียบสมรรถนะของการให้บริการรถไฟฟ้าทั่วโลกที่เป็นสมาชิก ทำให้สรุปตัวชี้วัดที่จำเป็นสำหรับการวัดประสิทธิภาพการให้บริการได้จำนวนหนึ่ง เมื่อนำตัวชี้วัดดังกล่าวมาสอบถามผู้ให้บริการและเจ้าของโครงการรถไฟฟ้าแต่ละรายด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าตัวชี้วัดบางตัวไม่เหมาะสมกับการวัดการทำงานของรถไฟฟ้าของไทย จึงปรับตัวชี้วัดใหม่ และนำเสนอในการจัดสนทนากลุ่ม หรือ Focus group หลายครั้ง เพื่อทำข้อตกลงตัวชี้วัดเริ่มต้นสำหรับการวัดประสิทธิภาพการให้บริการของรถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆ ของประเทศไทย โดยกลุ่มผู้ร่วมสนทนาประกอบด้วยผู้ให้บริการ เจ้าของโครงการ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคการศึกษา หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป สรุปดัชนีชี้วัดการดำเนินการได้ 6 มิติ 9 ด้าน ดังนี้

สำหรับขั้นตอนต่อไป คือ หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแล ซึ่งก็คือกรมขนส่งทางรางในปัจจุบัน ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดข้างต้น และนำมาเปรียบเทียบกับรถไฟฟ้าสายต่างๆ ภายในประเทศและต่างประเทศ และเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ รวมถึงการนำข้อมูลเชิงดิจิทัลมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้โดยสาร และกระตุ้นการใช้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ลดการใช้รถส่วนตัว ช่วยประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมให้กรุงเทพของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line