มทร.ธัญบุรี ปลื้ม คว้ารางวัลระดับโลก

มทร.ธัญบุรี ปลื้ม คว้ารางวัลระดับโลก

นายศุภเศรษฐ จันทร์อ่อน นักศึกษาสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม และอาจารย์ภูเบต แสงมะฮะหมัด อาจารย์ผู้ควบคุม ภาควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขัน The International Invitation of Optoelectronic Technical Skills ณ เมือง Chongqing สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการแข่งขัน The International Invitation of Optoelectronic Technical Skills เป็นการแข่งขันเพื่อวัดความสามารถด้าน Optoelectronic ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะการประกอบ การติดตั้ง ระบบแสงสว่างอัจฉริยะ การใช้งานและการแก้ไขปัญหาทางด้าน Optoelectronic รวมถึงการใช้แอพพลิเคชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงาน ในยุคของภาวะโลกร้อน และประหยัดงบประมาณในการติดตั้ง  โดยในการแข่งขันครั้งนี้ มี 9 ประเทศ 9 ทีม เข้าร่วมแข่งขันประกอบด้วย ประเทศจีน รัสเซีย เยอรมนี เม็กซิโก กานา บังคลาเทศ แอฟริกาใต้ ปากีสถาน และ ประเทศไทย 


อาจารย์ภูเบต แสงมะฮะหมัด อาจารย์ผู้ควบคุม เล่าว่า  ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับการแนะนำเชิญชวนจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการเข้าร่วมการแข่งขัน The International Invitation of Optoelectronic Technical Skills  ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับสากล เป็นการแข่งขันที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้นักศึกษามีประสบการณ์ทางด้านการพัฒนาทักษะ ทางด้านวิชาชีพของนักศึกษา รวมถึงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และการทำงานในสภาวะแวดล้อมสากล รวมถึงนักศึกษาและอาจารย์ยังได้รับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้าน Optoelectronic ปัจจุบันเทคโนโลยีด้าน Optoelectronic ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องการส่องสว่าง (หลอดไฟ LED) การแสดงผล (จอแสดงผลแบบ LED) และการตกแต่งเพื่อความสวยงานตามสถานที่ต่าง ๆ จึงเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปัจจุบัน

ในการแข่งขันในครั้งนี้ นักศึกษาได้รับความรู้ในการออกแบบและการเลือกใช้อุปกรณ์ทางด้าน Optoelectronic ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสถานที่ การวิเคราะห์ข้อผิดผลาดในงาน Optoelectronic การติดตั้งและการควบคุมจอแสดงผล LED รวมถึงการออกแบบและติดตั้งระบบส่องสว่างอัจฉริยะ โดยภาควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี จัดการเรียนการสอนที่มุ่งสู่การผลิต “บัณฑิตนักปฏิบัติ” เน้นสมรรถนะ จึงเป็นจุดเด่นของทีมประเทศไทยในการแข่งขันในครั้งนี้ “ระหว่างที่แข่งขันนักศึกษามีทักษะการปฏิบัติที่ดี ปฏิบัติตามโจทย์การแข่งขันมีความสมบูรณ์รอบคอบ และอยู่ภายใต้ความปลอดภัย การเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้อง บริหารเวลาในการปฏิบัติการแข่งขันได้เป็นอย่างดี

ทางด้าน นายศุภเศรษฐ จันทร์อ่อน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 (หลักสูตรเทียบโอน) ภาควิชาวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม เล่าว่า กติกาในการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 5 โมดูล โมดูล 1 lamps assembly and troubleshooting of supply power เวลา 45 นาที โมดูล 2 LED color screen assembly and information processing เวลา 45 นาที โมดูล 3 Production and commissioning of LED lights product เวลา 120 นาที โมดูล 4 Intelligent lighting control system assembly and Commissioning เวลา 180 นาที และโมดูล 5 Implementation and commissioning of illuminating engineering installation เวลา 120 นาที โดยใช้เวลาสำหรับการแข่งขันรวมทั้งสิ้น 8 ชั่วโมง 30 นาที ก่อนการแข่งขันในแต่ละ Module ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะได้รับฟังคำชี้แจงการแข่งขันพร้อมทั้งรับโจทย์การแข่งขัน พร้อมทั้งห้ามนำเอกสารและเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เข้าไปในบริเวณการแข่งขัน ขณะแข่งขันในแต่ละ Module ผู้เข้าแข่งขันห้ามสื่อสารหรือสอบถามกับอาจารย์ผู้ควบคุมของประเทศตนเอง แต่สามารถสอบถามกับคณะกรรมการหรือคณะกรรมการจากประเทศอื่นได้ เมื่อหมดเวลาการแข่งขันในแต่ละ Module ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องหยุดแล้วออกจากสนามแข่งขัน เพื่อให้คณะกรรมการทั้ง 3 คน ทำการตรวจสอบ พร้อมบันทึกผลคะแนนลงในแบบบันทึกผล ในการแข่งขันครั้งนี้ได้รับประสบการณ์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้าน Optoelectronic รวมถึงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และการทำงานในสภาวะแวดล้อมสากล รวมถึงยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์กับนักศึกษาและอาจารย์จากประเทศอื่น ๆ สำหรับการประสานงานในอนาคต

โดยผลการแข่งขัน The International Invitation of Optoelectronic Technical Skills อันดับที่ 1 คือ จีน และอันดับที่ 2 คือ ประเทศเยอรมนี

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line