ไมโครชิพ เปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC(R) ตระกูลใหม่ ย้ายภาระงานจากซอฟต์แวร์สู่ฮาร์ดแวร์

ไมโครชิพ เปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC(R) ตระกูลใหม่ ย้ายภาระงานจากซอฟต์แวร์สู่ฮาร์ดแวร์

ในการออกแบบระบบที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) เป็นพื้นฐานนั้น บ่อยครั้งที่เกิดปัญหาจากซอฟต์แวร์ ทั้งในแง่ของระยะเวลาในการปล่อยระบบออกสู่ตลาด และประสิทธิภาพของระบบ อย่างไรก็ดี ด้วยการปลดเปลื้องภาระงานจำนวนมากจากซอฟต์แวร์ไปยังฮาร์ดแวร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล PIC18-Q43 ของบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (Nasdaq: MCHP) จึงช่วยให้เหล่านักพัฒนาสามารถนำโซลูชันที่มีสมรรถนะสูงขึ้นออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น


การรวมอุปกรณ์เพอริเฟอรัลไว้หลายชนิด ทำให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลใหม่นี้มีความสามารถครบเครื่องมากขึ้น อีกทั้งยังใช้งานง่ายสำหรับการสร้างสรรค์ฟังก์ชันที่สามารถปรับแต่งได้ในรูปแบบฮาร์ดแวร์ เพอริเฟอรัลต่าง ๆ ที่ปรับแต่งได้นั้น จะเชื่อมต่อกันอย่างชาญฉลาด ซึ่งจะทำให้ค่าความหน่วงใกล้เคียงกับศูนย์มากที่สุดเพื่อความเร็วในการรับส่งข้อมูล ลอจิกอินพุต หรือสัญญาณอนาล็อก โดยที่ไม่ต้องเขียนโค้ดเพิ่มเพื่อปรับปรุงการตอบสนองของระบบแต่อย่างใด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการควบคุมและเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์ในแอปพลิเคชันการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ระบบความปลอดภัย มอเตอร์และอุปกรณ์ควบคุมในอุตสาหกรรม ไฟส่องสว่าง และอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์  (IoT) ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล PIC18-Q43 ช่วยลดพื้นที่บอร์ด ลดรายการวัสดุ (BoM) ลดต้นทุนโดยรวม และลดเวลาในการออกสู่ตลาด

Core Independent Peripherals (CIPs) คืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ได้รับการออกแบบมาให้มีความสามารถเสริม เพื่อรับมือกับภาระงานที่หลากหลาย โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยหน่วยประมวลผลกลาง หรือ Central Processing Unit (CPU) ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลใหม่มาพร้อม CIPs อย่างเช่น timers, simplified Pulse Width Modulation (PWM) output, CLCs, Analog to Digital Converter with Computation (ADCC), multiple serial communications และอีกมากมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้นักพัฒนาสามารถปรับแต่งการออกแบบให้เหมาะสมกับรุปการใช้งานเฉพาะด้านได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ CLC เป็นลอจิกที่ตั้งโปรแกรมได้ สามารถทำงานโดยไม่ต้องสนข้อจำกัดความเร็วในการทำงานของซอฟต์แวร์ ทำให้ลูกค้าสามารถออกแบบสิ่งต่าง ๆ เช่น waveform generation, timing measurements และอีกมากมายได้ตามต้องการ CLCs สามารถทำหน้าที่เป็น "กาว" เพื่อเชื่อมต่อเพอริเฟอรัลแบบ on-chip สำหรับการปรับแต่งฮาร์ดแวร์ได้สะดวกง่ายดายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ส่วนอินเทอร์เฟซการสื่อสารแบบ core-independent ซึ่งรวมถึง UART, SPI และ I2C นั้น มอบหน่วยโครงสร้าง (building blocks) ที่มีความยืดหยุ่นและใช้งานง่ายสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการสร้างสรรค์อุปกรณ์ที่ปรับแต่งได้ ขณะที่การเพิ่ม multiple DMA channels และ interrupt management จะช่วยเร่งการควบคุมแบบเรียลไทม์ด้วย simplified software loops ชุดเครื่องมือการพัฒนาที่ครอบคลุมของไมโครชิพจะทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างโค้ดแอปพลิเคชันได้ง่ายและรวดเร็ว ตลอดจนปรับแต่งการใช้งาน CIPs ประเภทต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบ graphical user interface (GUI) ได้ ยิ่งไปกว่านั้น PIC18-Q43 รองรับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด 5V ซึ่งเพิ่มความทนต่อสัญญาณรบกวน และทำงานประสานกับเซ็นเซอร์ได้หลากหลายประเภท

"ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล PIC18-Q43 มาพร้อม CIPs มากมาย ที่สนับสนุนฟังก์ชันการทำงานได้หลายฟังก์ชัน และแม้แต่ control loops ทั้งลูป ก็สามารถเป็นไปได้ในฮาร์ดแวร์แบบ on-chip ที่สามารถปรับแต่งได้" เกร็ก โรบินสัน ผู้ช่วยรองประธานฝ่ายการตลาด หน่วยธุรกิจไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ 8-bit ของไมโครชิพ กล่าว "ด้วยการผสมผสานกันอย่างยืดหยุ่นของ CIPs และ high analog integration ผู้ใช้จะลดเวลาในการพัฒนาลงได้อย่างมีนัยสำคัญ และปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ ด้วยการทำให้การควบคุม waveform control เป็นอัตโนมัติ รวมไปถึงการกำหนดเวลาและการวัดประเมิน ตลอดจนฟังก์ชันลอจิกด้วย"

 

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line