นักวิจัย ม.ขอนแก่น เผยนวัตกรรมการสอนที่ลดความเหลื่อมล้ำแต่เพิ่มความสุขทางการศึกษา

นักวิจัย ม.ขอนแก่น เผยนวัตกรรมการสอนที่ลดความเหลื่อมล้ำแต่เพิ่มความสุขทางการศึกษา

สกสว. ผลักดันศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ ม.แม่โจ้ เป็นหน่วยพัฒนาบัณฑิตระดับ ป.ตรี-ป.เอก สู่ ‘นวัตกรรุ่นใหม่’ สร้างนวัตกรรมจากปัญหาจริงตอบโจทย์ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม เตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาประเทศไทยทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สนับสนุนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดตั้ง ‘ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ’ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบัณฑิต ระดับ ป.ตรี-ป.เอก ที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ ให้เรียนรู้การเป็นบัณฑิตผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) เร่งใช้กระบวนการวิจัยแก้ปัญหาและต่อยอดสู่นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมไทย ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ 


ผศ.ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือความเป็นเลิศด้านเกษตรฯ ม.แม่โจ้ เปิดเผยว่า ทุกวันนี้จำนวนนักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกมีแนวมโน้มลดจำนวนลง เนื่องจากกระแสเทคโนโลยีที่มาแรง ทำให้การจ้างงานลดลง นักศึกษาหางานทำยากขึ้น อีกทั้งตำแหน่งของหน่วยงานราชการที่จะรองรับนักศึกษาเหล่านี้มีอยู่อย่างจำกัด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเกษตรฯ ม.แม่โจ้ ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่จะทำหน้าที่บ่มเพาะ ส่งเสริมการเรียนรู้และเป็นตัวเร่งประสบการณ์ให้นักศึกษาสามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเกษตร เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมด้านนี้ให้เติบโตอย่างเป็นรูปธรรม

“ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรฯ มุ่งเน้นสอนการคิดเชิงออกแบบนวัตกรรมให้นักศึกษาทั้งปริญญา ตรี โท เอก โดยฝึกฝนการคิดนอกกรอบ
การลองผิดลองถูกฝึกทำต้นแบบงานวิจัยที่รับโจทย์ปัญหามาจากภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรอย่างแท้จริง เพื่อให้สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่ขายได้หรือนำไปต่อยอดประกอบธุรกิจของตัวนักศึกษา โดยเมื่อเรียนจบแล้ว นักศึกษาจะมีทักษะและมีประสบการณ์การทำงานที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน หรือบางคนอาจไปไกลถึงขั้นเป็นบัณฑิตผู้ประกอบการระหว่างเรียน เป็นนวัตกรรุ่นใหม่ที่สามารถสร้างนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมไทยในอนาคต ซึ่งตรงกับนโยบายของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนบทบาทสู่การเป็นหน่วยสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ เพื่อเป็นการเตรียมคนสู่ศตวรรษที่ 21 และเท่าทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก”

ผศ.ดร.ดวงพร กล่าวว่า สำหรับความพร้อมของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเกษตรฯ ม.แม่โจ้ นั้นมีทีมอาจารย์ทั้งหมด 25 ท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญหลากหลายศาสตร์ เช่น สาขาพืชสวน พืชไร่ เทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมิ่ง เทคโนโลยีโรงงานผลิตพืช (Plant Factory) ทุกคนพร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ นักศึกษา และประชาชนที่สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าอย่างเป็นระบบ เช่น การวิจัยนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นสารสกัด สารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredient) สำหรับนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น อาหารเสริม เครื่องสำอาง ตลอดจนวัสดุภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีหน่วยวิจัยย่อย เช่น หน่วยวิจัยวัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์ประยุกต์ด้านพลาสมาเทคโนโลยี เป็นต้น

“ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเกษตรฯ ยังมีเครือข่ายความร่วมมือกับพันธมิตรด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรม อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี องค์ความรู้และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีหน่วยวิจัยที่ให้ทุนอย่าง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ที่จัดกิจกรรม “Open Innovation Roadshow” ภาคเหนือ ร่วมกับศูนย์ฯ เป็นประจำทุกปีทำให้ผู้ประกอบการเห็นตลาดใหม่ๆ ที่จะเร่งธุรกิจของตนเองให้โตเร็วขึ้น ขณะที่ทีมอาจารย์และนักศึกษาเห็นโจทย์ที่มาจากความต้องการของผู้ประกอบการอย่างชัดเจน นำไปสู่การเป็นนวัตกรรมผลักดันสู่การใช้งานจริง และสามารถจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้”

อย่างไรก็ตาม สำหรับประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ที่สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม หรือมีโจทย์ปัญหาในภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรที่ต้องการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไข สามารถเข้ารับคำปรึกษา การบริการจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านเกษตรฯ ได้ที่ชั้น 1 ตึก 60 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หรือติดต่อผ่านทาง Facebook: ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ พร้อมให้บริการประชาชนในทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line