สถาปัตย์ ม.ศรีปทุม จับมือ Big Camera และ DEESAWAT ร่วมมือ MOU สร้างนักศึกษามือโปร รองรับตลาดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

สถาปัตย์ ม.ศรีปทุม จับมือ Big Camera และ DEESAWAT ร่วมมือ MOU สร้างนักศึกษามือโปร รองรับตลาดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

สถาปัตย์ ม.ศรีปทุม ยืนหนึ่งเรื่อง “เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง” รุดจับมือ Big Camera และ 7 แบรนด์ดีไซน์ชั้นนำระดับประเทศ สร้างนักศึกษามือโปร รองรับตลาดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์


มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับ บริษัท บิ๊ก คาเมร่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด (7 แบรนด์ดีไซน์ชั้นนำระดับประเทศ ประกอบด้วย DEESAWAT, Divana Nurture Spa, Labrador, Bathroom Design , Mobella Galleria , Masaya และ Greyhound)  โดยมี อาจารย์ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมกับ คุณธนสิทธิ์ เธียรกาญจนวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊ก คาเมร่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)และคุณจิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด พร้อมด้วย ผู้แทน 7 แบรนด์ดีไซน์ชั้นนำระดับประเทศ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง MOUร่วมกัน เพื่อร่วมสร้างนักศึกษามือโปร รองรับตลาดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ ตอบรับกระแสตลาดโตทะลุ 1 ล้านล้านบาท ณ ห้องบอร์ดรูม ชั้น 14 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา

อาจารย์ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า การMOU อีกหนึ่งความร่วมมือที่ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เดินหน้าขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ กับผู้ประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้าระดับประเทศ ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้วยการ“เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง”

โดยล่าสุดนี้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้จับมือกับ บริษัท Big Camera และ 7 แบรนด์ดีไซน์ชั้นนำระดับประเทศ ประกอบด้วย DEESAWAT, Divana Nurture Spa, Labrador, Bathroom Design , Mobella Galleria , Masaya และ Greyhound มุ่งสู่ความก้าวหน้าของรูปแบบการศึกษายุคใหม่ ที่เน้นองค์ความรู้ควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ ทั้งเชิงวิชาการและวิชาชีพด้านการออกแบบ รวมไปถึงการพัฒนาธุรกิจที่สืบเนื่อง โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ ที่ในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญและมูลค่าทางเศรษฐกิจมากถึง ร้อยละ 5.61 ของ GDP โดยในปี 2560 มีมูลค่าถึง 1.4 ล้านล้านบาท ดังนั้น การที่นักศึกษาได้เรียนรู้ลงมือปฏิบัติจริง จะช่วยเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อความก้าวหน้าในวิชาชีพเมื่อจบการศึกษา

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line