Around Town

สจด. สร้างกำลังคนนักเทคโนโลยีและนวัตกร ผ่านโครงการ Technological Wisdom to Create Communities and Industries Innovation

1 Mins read

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา จัดกิจกรรมประกวดโครงงานนักศึกษา “Technological Wisdom to Create Communities and Industries Innovation” เพื่อส่งเสริมการวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ภูมิปัญญานักเทคโนโลยีสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชนและอุตสาหกรรม ณ โถงชั้น 1 อาคาร 60 พรรษา ราชสุดาสมภพ (604)

อธิการบดี

          ผศ.ดร.สุรพันธ์ ตันศรีวงษ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กล่าวว่า การประกวดโครงงานนักศึกษาเพื่อส่งเสริมการวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะการวิจัยและนำไปใช้ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ ทั้งนี้การพัฒนาความรู้ ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ด้านการวิจัยและประดิษฐ์คิดค้น หากดำเนินการอย่างมีแบบแผนและเป็นรูปธรรม จะสามารถส่งเสริมให้นักศึกษาเติบโตสู่การเป็นนักวิจัยและนักประดิษฐ์คิดค้นที่ดี มีคุณภาพ สามารถผลิตผลงานสิ่งประดิษฐ์เผยแพร่สู่สาธารณะชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยนักศึกษาหลักสูตรเรียนคู่งาน-งานคูเรียน จะทำการวิจัยและประดิษฐ์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามสารถนำไปใช้ได้จริง

          สำหรับผลงานหลักสูตรเรียนคู่งาน ได้แก่ การพัฒนาระบบประเมินความผิดปกติสภาพแวดล้อมของกระบวนการหยอดกาวผลิตภัณฑ์ Super Pump Combiner ด้วยอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ระบบแจ้งเตือนการทำงานเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ด้วยการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เครื่องตรวจสอบและจำแนกคุณภาพเสียงแตรรถยนต์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ชุดตรวจวัดปริมาณฝุ่นบนพื้นผิวของแผงโซล่าเซลล์โดยแสดงผลผ่านแอปพลิเคชั่น เครื่องทดสอบเซอร์กิตเบรกเกอร์ตามมาตรฐาน IEC60898-1 เครื่องแจ้งเตือนการล้มด้วยการประมวลผลภาพผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ชุดการเรียนรู้โซล่าเซลล์ตามแสงอาทิตย์บันทึกข้อมูลและแสดงผลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ชุดค้นหาและระบุตำแหน่งอุปกรณ์และเครื่องมือขนาดเล็กในสายการผลิตปั๊ม HRS กรณีศึกษา บริษัท ลูเมนตั้ม อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) ระบบตรวจสอบความถูกต้องของแผ่นประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ เครื่องวัดดัชนีเมฆเพื่อประเมินกำลังการผลิตไฟฟ้า ระบบควบคุมห้องอัตโนมัติใช้พลังงานเน็ตซีโร่ และการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้แสงเพื่อตรวจจับและคาดคะเนระยะทางของวัตถุสำหรับการเรียนรู้ และผลงานหลักสูตรงานคู่เรียน ได้แก่ ระบบตรวจสอบคุณภาพของแผงควบคุมเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ตรวจสอบการแสดงผลของปั๊มน้ำดับเพลิง อุปกรณ์ควบคุมตู้โหลดในงานเวทีผ่านแอพพลิเคชั่น ชุดวิเคราะห์การสั่นของเครื่องยนต์ เครื่องควบคุมการฉีดน้ำยากำจัดฟองบ่อบำบัดน้ำเสีย ของโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ          และเครื่องตั้งศูนย์ล้อสำหรับรถไฟฟ้าขนาดเล็กแบบพกพา

          ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่อุปกรณ์ควบคุมตู้โหลดในงานเวทีผ่านแอพพลิเคชั่น โดยนายวรรษา แจ้งสุข และนายฉัตร สาตพร รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ระบบตรวจสอบคุณภาพของแผงควบคุมเครื่องปรับอากาศ โดยนายเกรียงศักดิ์ ลักษณสุวรรณ นายศตวรรษ ศรีสวัสดิ์ และนายศักดิ์สิทธิ์ สุธาธรรม รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่เครื่องตรวจสอบและจำแนกคุณภาพเสียงแตรรถยนต์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดย นายศิวัช บุญปิยทัศน์ และนายวีรภัทร เพ็ญสวัสดิ์ เครื่องแจ้งเตือนการล้มด้วยการประมวลผลภาพผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง โดย นายฉัตรมงคล สิทธิพงษ์ นายชัพวิชญ์ แซ่จันทร์ และMr.Chanthun Sok และเครื่องควบคุมการฉีดน้ำยากำจัดฟองบ่อบำบัดน้ำเสีย ของโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ โดยนายสุนทร คงจันทร์ และนายอาทิตย์ แพงเจริญ        รางวัล Popular vote ได้แก่ ชุดค้นหาและระบุตำแหน่งอุปกรณ์และเครื่องมือขนาดเล็กในสายการผลิตปั๊ม HRS กรณีศึกษา บริษัท ลูเมนตั้ม อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) โดยนายศุภณัฐ พรรณเสมา และนางสาวมิ่งขวัญ ศรีสมโภชน์