Around Town

วิทย์สานศิลป์สู่พลังสร้างสรรค์ บ้านวิทย์ชวนเด็กพัฒนาสมองสองซีกซ้ายขวา พัฒนาสมดุลชีวิต

1 Mins read

ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี – สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ดำเนินกิจกรรม “สนุกวิทย์เก่งศิลป์สู่พลังสร้างสรรค์” ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ครูและเด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมศิลปะภาพสีน้ำออแกนิคที่สกัดจากดอกไม้และใบไม้ พร้อมร่วมดื่มด่ำกับการเรียนรู้ธรรมชาติ และปรากฏการณ์ธรรมชาติ ผ่านดอกไม้ ต้นไม้ ใบหญ้า แสนน่ารัก ร่วมถึงพาเด็ก ๆ ทำของเล่นทำมือเอง เพื่อความอบอุ่นในครอบครัว และเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างวันที่ 11 – 25 กันยายน 2563

นางฤทัย จงสฤษดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ สวทช. 1

[catlist id=21 numberposts=5 excludeposts=this]

นางฤทัย จงสฤษดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ สวทช. กล่าวว่า กิจกรรมวิทย์สารศิลป์สู่พลังสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้สนใจและสังเกตธรรมชาติรอบตัวและนำมาสร้างสรรค์ผลงานที่ผสานทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ วิทยาศาสตร์ทำให้ผลงานลุ่มลึก และมีกระบวนการพัฒนาชิ้นงานมีมาตรฐาน ส่วนศิลปะส่งเสริมเด็กให้มีความจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบผลงานให้สวยงามเหมาะกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช. ได้บรรยายและแสดงกลวิทยาศาสตร์เรื่อง Art and Science in Colorful Flowers

ด้าน นางสาวนันทวัน วาตะ ครูสอนภาพวาดและนักวาดภาพประกอบ และเจ้าของเพจ กาแฟดำไม่เผ็ด ที่นำกิจกรรมอบรม ศิลปะภาพสีน้ำออแกนิคที่สกัดจากดอกไม้และใบไม้ กล่าวให้ฟังว่า “ธรรมชาติมีความสวยงามและสมดุลอยู่แล้ว อยากให้เด็กเข้าไปสังเกตโครงสร้างสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แล้วมาสร้างสรรค์งานศิลปะ เช่น ลองมองไปที่ต้นชบาที่กำลังออกดอกสีแดง เราสังเกตโครงสร้าง และสัดส่วนของสีและขนาดของดอกชบากับต้น จะมีสัดส่วนที่ลงตัวของสีแดงของดอกและสีเขียวของใบ จะทำให้เด็ก ๆ เห็นความสวยงามในธรรมชาติเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้และสร้างสรรค์งาน”

ทั้งนี้ กิจกรรม “สนุกวิทย์เก่งศิลป์สู่พลังสร้างสรรค์” ประกอบด้วย กิจกรรมที่หนึ่ง : สนุกกับการค้นพบสารสีในดอกไม้ ผักและผลไม้ นานาชนิด เด็ก ๆ ได้ค้นพบว่า ดอกอัญชันมีสารแอนโทไซยานินให้สีน้ำเงินม่วง ขมิ้นชันมีสีเหลืองจากเคอร์คูมินอยด์  ใบคะน้าสีเขียวจากคลอโรฟิลล์ มะเขือเทศมีสารสีแดงจากไลโคพีน สารแต่ละชนิดมีประโยชน์ในแง่อาหารและยา ตลอดจนนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ขณะที่กิจกรรมที่สอง : สกัดสีจากส่วนต่าง ๆ ของพืช แล้วนำไปทำเป็นสีน้ำออแกนิค วาดภาพสวยงาม สีน้ำดังกล่าวไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตราย เด็ก ๆ ได้สนุกกับการนำสีนานาชาติจากธรรมชาติมาวาดภาพประกอบ และลองนำเกลือแกงมาโรยบนภาพวาด ทำให้สีดูคล้ายลายหินอ่อนสวยงามไปอีกแบบ