Around Town

มทร.พระนคร ขานรับนโยบาย อว. นำเทคโนโลยีพัฒนาและยกระดับชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

1 Mins read

ศ.ดร.สุรพงษ์ โสธนะเสถียร นายกสภามหาวิทยาลัยฯ พร้อมด้วยผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมให้การต้อนรับศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วาระพิเศษ “ตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัย  พบปะสภามหาวิทยาลัยและผู้แทนคณาจารย์” โดยเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม บริการทางวิชาการ พร้อมให้โอวาทและมอบนโยบายว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีงานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงเทคโนโลยีที่หลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์เพื่อต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจ การสร้างชุมชนนวัตกรรมในอนาคตจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก แต่ต้องร่วมกันหาวิธีพัฒนาหรือผลักดันให้ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม ต้องบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน มหาวิทยาลัยในปัจจุบันมีจุดเด่นในตัวเองอย่างชัดเจนอยู่แล้ว เพียงแต่จะหาวิธีนำมาใช้สร้างความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ ได้อย่างไร นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังต้องมองถึงความถนัดของตนเองว่าอยู่ในประเภทใด แล้วมุ่งเน้นพัฒนาในด้านนั้น ๆ อย่างจริงจัง แล้วผลลัพธ์ที่ออกมาจะดีเอง ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านเทคโนโลยีและเรื่องของดิจิทัล ควรพัฒนาในด้านนี้อย่างจริงจังพร้อมสำหรับก้าวเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในอนาคต พร้อมผลิตบัณฑิตตอบสนองความต้องการของประเทศ

2020 0.10.7 ๒๐๑๐๐๘

ด้าน ผศ.สหรัตน์ วงษ์ศรีษะ รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เปิดเผยว่า  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้สนองนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ด้านการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทการพัฒนางานวิจัยและการบริการวิชาการที่ส่งผลกระทบกับชุมชนและสังคม  จึงมุ่งการสร้างงานวิจัยที่เกิดจากปัญหาของชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นโจทย์ในการวิจัย และเน้นการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่นักวิจัยคิดค้นไปสนับสนุนวิถีชีวิตชุมชนด้วยการสร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการในชุมชน โดยเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีวิธีการใช้งานไม่ซับซ้อน สามารถซ่อมแซมเองได้ มีประสิทธิภาพทำงานได้จริง ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สร้างอาชีพ สร้างรายได้หรือลดรายจ่าย ยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และสร้างความยั่งยืนให้ชุมชน ตลอดจนสามารถบูรณาการงานวิจัยต่อยอดไปสู่การบริการวิชาการและการเรียนการสอนด้วย

[catlist id=59 numberposts=5 excludeposts=this]

2020 1.10.7 ๒๐๑๐๐๘

ผศ.สหรัตน์ วงษ์ศรีษะ กล่าวว่า การพัฒนางานวิจัยระดับเศรษฐกิจฐานรากจะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยการบูรณาการหลายด้าน ประกอบด้วย การสนับสนุนของผู้บริหารที่ชัดเจนในการพัฒนานักวิจัยเชิงพื้นที่ มีกลไกการบริหารจัดการงานวิจัย โดยให้สถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นแกนหลักในการเชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังสร้างกระบวนการติดตามผล การขยายผลการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้นงานวิจัยเพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัย เครือข่ายผู้ประกอบการ เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ให้เชื่อมโยงสู่ระดับจังหวัด ผ่านสำนักงานจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด ที่สำคัญผู้บริหารและนักวิจัยต้องลงพื้นที่ชุมชนสำรวจข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในการสร้างชุดโครงการวิจัย ซึ่งเป็นชุดโครงการที่ร้อยเรียงทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และใช้ศักยภาพของนักวิจัยข้ามศาสตร์ร่วมกัน อันจะส่งผลให้งานวิจัยและนวัตกรรมสอดคล้องและสนองตอบต่อทิศทางนโยบายของจังหวัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และประเทศชาติ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area-based Research) และลดความเหลื่อมล้ำที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การสร้างชุมชนนวัตกรรม (Innovation community) หรืองานวิจัยที่ระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการสร้างงานวิจัยเกี่ยวกับการยกระดับศักยภาพวิสาหกิจของผู้ประกอบการขนาดเล็ก (SME/OTOP) และงานวิจัยด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมการเกษตร (BCG Economy, Sharing Economy) สังคมสูงวัย (Aging society) ตลอดจนงานวิจัยชั้นแนวหน้าหรืองานวิจัยระดับสูง (Frontier Research) และการวิจัยพื้นฐาน (Basic Research)เป็นต้น”  รักษาราชการแทนอธิการบดีกล่าว

2020 4.10.7 ๒๐๑๐๐๘