Around Town

ม.มหิดล เปิด “ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม” (MICC) เชื่อมต่อนักวิจัยสู่โลกธุรกิจ

1 Mins read

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) กำหนดเปิดตัว 

ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม” Mahidol Industry Connection Center (MICC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน 

image0 4

ศาสตราจารย์ ดรนายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบัน iNT ชี้ว่า ถึงแม้มหาวิทยาลัยมหิดลไม่ได้มีการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการแสวงหากำไร แต่จำเป็นต้องมีการหารายได้เลี้ยงตัวเองเพื่อนำมาส่งเสริมงานวิจัยให้สามารถเดินหน้าต่อไปจนบรรลุเป้าหมายที่ตอบโจทย์ตามความต้องการเร่งด่วนของสังคมและประเทศชาติ ซึ่งที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยพบข้อจำกัดในเชิงพาณิชย์ ต่อมาได้มีการจัดตั้งสถาบัน iNT ขึ้นเพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยสถาบันจัดอันดับโลก Scimago Institution Rankings 2020

คำว่า “เชิงพาณิชย์” ไม่ได้เป็นเรื่องเชิงลบขององค์กรไม่แสวงหากำไรอย่างเช่นสถาบันการศึกษา แต่คือ “โอกาส” ที่จะผลักดัน

ให้มหาวิทยาลัยได้เปิดโลกสู่ความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อร่วมพัฒนานวัตกรรมให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการตลาด ซึ่งเป็นเรื่องของ “กลไก” ในการนำเอานวัตกรรมสู่สังคม เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติมากกว่า” ศาสตราจารย์ ดรนายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน กล่าว

ซึ่งสอดคล้องกับที่ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม อดีตปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (กระทรวงอว.)

เคยมองว่า มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของสังคม โดยอาจารย์และนักวิจัยจะต้องเปิดตัวสู่โลกภายนอกเพื่อทำความรู้จักกับผู้ประกอบการ เพื่อการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง

[catlist id=59 numberposts=5 excludeposts=this]

ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม” (MICC) เป็นส่วนขยายของสถาบันiNT ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีภารกิจเพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม (Collaboraton University – Industry) และช่วยจับคู่โครงการกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม (Matching Project with (Internal & External) Experts) นอกจากนี้ยังช่วยสร้าง Project Menu เพื่อรวบรวมข้อมูลผลงานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย เพื่อการสืบค้น และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว (Data Base Expertise) รวมทั้งให้บริการเป็นที่ปรึกษาในการจดทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร (Protection of Intellectual Property) ให้บริการผู้ประกอบการ / ภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการบริหารงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลไปประยุกต์ใช้ธุรกิจเชิงพาณิชย์ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัย / ผู้เชี่ยวชาญ มีนวัตกรรมเทคโนโลยี และงานวิจัยมองหาผู้ใช้หรือพัฒนาร่วมกัน

ในวันเปิดตัว “ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม” Mahidol Industry Connection Center (MICC) เวลา 14.30 นายแพทย์สรนิต ศิลธรรมอดีตปลัดกระทรวง อวจะมาร่วมเสวนาร่วมกับ อธิการบดี และรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อ “เอกชนร่วมคิด มหิดลร่วมทำ” โดยถอดบทเรียนจากประสบการณ์บริหารในภาครัฐ และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล  ร่วมกับผู้ร่วมเสวนาจากภาคเอกชนชั้นนำซึ่งมี impact ต่อเศรษฐกิจในระดับชาติ เพื่อสร้างแนวคิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่มุ่งสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง  MaSHARES MB สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งเป็น Co-working space เพื่อการใช้พื้นที่ร่วมกันในการสร้างสรรค์และร่วมมือทางนวัตกรรมที่เปิดใหม่ล่าสุด ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบัน iNT และ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล (MB)

ศาสตราจารย์ ดรนายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ได้กล่าวเชิญชวนผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการ update ช่องทางใหม่ๆ ของสตาร์ทอัพ มาร่วมฟังเสวนา“Startup Talk” จากวิทยากรผู้มีชื่อเสียงในแวดวงฯ นอกจากนี้ภายในงานได้มีการจัดบูธแสดงผลงานนวัตกรรมเด่นจากมหาวิทยาลัยมหิดลและการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ให้ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมได้พบปะพูดคุยกับตัวแทนจากภาคธุรกิจโดยตรงอีกด้วย โดยสามารถติดตามชม FB Live ได้ทางเพจ iNT สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม