Around Town

โควิด-19 ลดจำนวนคนแต่งงาน มีลูก ส่งผลกระทบอัตราสังคมสูงวัยพุ่งสูง

1 Mins read

ในยุคที่โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างมาก และเมื่อในสถานการณ์การระบาดยาวนานใกล้ครบรอบ 1 ปี ได้ส่งผลให้ปัญหาสังคมผู้สูงวัย ในไทยทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องด้วยเหตุการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้อัตราการแต่งงาน และการวางแผนในการมีบุตรยิ่งชะลอตัวลงจากสาเหตุต่างๆ อาทิ

  • อัตราการแต่งงานที่ลดลงอย่างมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 เนื่องจากความจำเป็นต่างๆ อาทิ การล็อคดาวน์กิจกรรมที่มีการรวมตัวกันของคนหมู่มาก หรือนโยบาย Social Distancing เป็นต้น
  • อัตราการวางแผนเพื่อมีบุตรลดลง ด้วยสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งการมีครอบครัวของคนรุ่นใหม่ที่ชะลอตัวลง รวมถึงสภาพเศรษฐกิจในทุกๆประเทศทั่วโลกที่ทรุดตัวลง ส่งผลให้คนรุ่นใหม่มีความกังวลมากขึ้น จึงเกิดการชะลอตัวการวางแผนมีบุตร
  • การแต่งงานเมื่ออายุมากขึ้น หรือในภาวะที่ความเครียดในสังคมสูง เป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลให้อัตราการมีบุตรลดลงด้วย
S 7118971 10.34.03 AM

ซึ่งปัญหาดังที่กล่าวมาจะส่งผลต่อภาพรวมของสังคมไทยในหลายด้านอาทิ

  • ด้านเศรษฐกิจทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค เนื่องจากเมื่อประชากรเกิดใหม่ลดลง จะส่งผลให้ประชากรในวัยทำงานลดลงในอนาคตเช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว จะส่งผลกระทบทั้งด้านของตลาดแรงงาน ที่จะหาแรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆยากขึ้น รวมถึงรายได้ของประเทศจากการจัดเก็บภาษีกลับลดลง ในขณะที่รายจ่ายในการดูแลผู้สูงอายุ กลับเพิ่มมากขึ้น
  • ด้านสังคมคือคนในวัยชราขาดคนดูแล เนื่องจากหลายครอบครัวไม่มีลูกหลาน และคนชราดูแลตัวเองได้น้อยลงเรื่อยๆ พร้อมทั้งคนชราจำนวนมาก มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จึงส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่เข้าสู่สังคมอีกทางหนึ่ง

[catlist id=59 numberposts=5 excludeposts=this]

S 7118969

โดยปัจจุบันภาครัฐให้การสนับสนุนคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมากในการมีบุตรอย่างไรก็ดีการมีบุตรต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญหลายอย่าง อาทิ อายุ สุขภาพ และความพร้อมของครอบครัว ดังนั้นการวางแผนเพื่อมีบุตรจึงมีส่วนสำคัญมากขี้น

ทางออกหนึ่งของการแก้ไขปัญหาการ มีบุตรยากคือการวางแผนรองรับสำหรับผู้หญิงยุคใหม่ที่แต่งงานเมื่อ อายุที่มากขึ้นดังนั้นการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์จึงเข้ามามีส่วนสำคัญ ดังเช่นการฝากไข่ของผู้หญิง ตั้งแต่เมื่อวัยเจริญพันธุ์และมีร่างกายที่แข็งแรง จะสามารถลดปัญหาการมีบุตรยาก และลดความเสี่ยงของ การเกิดโรคไม่พึงประสงค์ต่างๆเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพทย์ ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและได้ผลตอบสนองได้ดีกว่าในอดีตที่ผ่านมา

S 7118970

ทางด้าน น.พ.พูนเกียรติ ปัญญามิตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากกล่าวว่า ปัจจุบันวงการแพทย์พัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีทางออกให้กับคนรุ่นใหม่ที่แต่งงานช้าลงด้วยการนำไข่ของ ผู้หญิงมาฝากไว้ยัง สถาบันที่ได้มาตรฐานเพื่อรักษาอายุและคุณภาพของไข่ให้มีความอ่อนวัย โดยสถาบันอย่าง ไพร์ม เฟอร์ทิลิตี้ คลินิก เป็นสถานพยาบาลแห่งหนึ่งที่ นอกจากจะดำเนินงานโดยทีมแพทย์มืออาชีพแล้ว ทั้งยังมีสถิติการดำเนินการอยู่ในระดับที่ดีกว่ามาตรฐานอย่างมาก อาทิการละลายไข่ เพื่อนำกลับมาฝังตัวมีอัตราการนำกลับมาใช้ได้ถึงกว่า 90% ซึ่งส่งผล ให้ผู้เข้ามารับการรักษามีโอกาสในการมีบุตรมากขึ้น แม้จะอยู่ในภาวะที่ สามารถนำไข่มาเก็บได้น้อย ทั้งในผู้หญิงที่มีอายุมาก หรือผู้ที่มีปัญหา ทางสุขภาพอื่นๆ อีกทั้งการดำเนินการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ ICSI ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อเนื่องในการรักษาเพื่อนำไข่ที่ฝากไว้เข้าสู่ขั้นตอนรักษาภาวะมีบุตรยากก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างชัดเจนเนื่องจากไข่ที่ได้รับการฝากไว้ตั้งแต่อายุน้อย หรือเมื่อสุขภาพแข็งแรงจะมีความสามารถในการปฏิสนธิสูง

นอกจากนี้ความรู้ความสามารถและความตระหนักถึงความเสี่ยงต่างๆ จากโรคภัยที่มีอัตราสูงขึ้น อาทิในผู้ป่วย โรคมะเร็ง ที่ปัจจุบันเป็นโรคที่มีอัตราการป่วย หรือเสียชีวิตเป็นอันดับต้นของประเทศ โดยผู้ป่วยสามารถใช้เทคโนโลยีการฝากไข่เป็นทางเลือกในการมีบุตรได้ แม้จะต้องเข้ารับการรักษาตัวจากโรคมะเร็ง เป็นต้นดังนั้นการเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ เพื่อป้องกันและรักษาภาวะการมีบุตรยาก จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนในสังคมปัจจุบันที่จะทวีความ จำเป็นขึ้นตามลำดับ นับเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งในระดับ ครอบครัวและสังคมในอนาคต สำหรับผู้ที่สนใจปรึกษาข้อมูลทางการ แพทย์สามารถสอบถามได้ที่ คลินิกผู้มีบุตรยาก Prime Fertility