Around Town

อนุทิน ลงนาม แต่งตั้ง “คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์” ดันที่ปรึกษารัฐมนตรีนั่งประธาน เป้าหมาย “ส่งเสริมการพึ่งตนเองในชุมชน-ผลักดันกัญชาสู่พืชเศรษฐกิจ

1 Mins read

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่  1273/2563 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ จำนวน 34 คน โดยมี ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ ร่วมด้วย หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์  ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ

ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน ประธานคณะกรรมการ ได้กล่าวถึงการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาว่า “นโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์นั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการของประชาชน ในการนำองค์ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านและการแพทย์แผนไทยมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ รวมไปถึงการใช้เพื่อรักษาโรค ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเองก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายนี้ จึงได้ดำเนินงานอย่างเร่งด่วนเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว แต่ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายในหลาย ๆ ประเด็น ทำให้ กระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องเริ่มดำเนินการจากประเด็นที่สำคัญก่อน ตั้งแต่การยกร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฉบับที่ 8 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยจะอนุญาตให้ผู้ป่วยสามารถปลูกกัญชาเพื่อใช้สำหรับดูแลสุขภาพตนเอง และให้บุคลากรทางการแพทย์ปลูกเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยของตนได้  อีกทั้งการแก้ไขประกาศกระทรวงฯสำหรับพืชกัญชง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย รวมไปถึงการส่งเสริมนโยบายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยากัญชาที่มีคุณภาพใกล้บ้าน”

กัญชา ๒

[catlist id=77 numberposts=5 excludeposts=this]

 แต่เนื่องด้วยภารกิจหลายประการที่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของประชาชน ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และท่านปลัดกระทรวงจึงเห็นพ้องต้องกันในการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายฯ นี้ เพื่อทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในและนอกกระทรวง ในการนำนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์มาสู่การปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  โดยคณะกรรมการฯ จะมีบทบาทสำคัญในการติดตาม กำกับและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินนโยบายไม่บรรลุผล เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ว่า “ในปีนี้เราจะมุ่งเน้นให้พี่น้องประชาชนคนไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากกัญชาและกัญชง ทั้งในการดูแลสุขภาพ การรักษาผู้ป่วย และยังสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์และการบริการไปสู่การสร้างรายได้ในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่เราได้ดำเนินการไปแล้วตั้งแต่ก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ คือ การปลดส่วนของพืชกัญชาและกัญชง ได้แก่ ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น และราก ออกจากบัญชียาเสพติด และด้วยความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และคณะกรรมการยาเสพติดที่เห็นพ้องกันว่า ส่วนดังกล่าวของพืชกัญชาและกัญชงมีสัดส่วนของสารมึนเมาน้อยมาก จึงสมควรปลดออกมาเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบของวิถีชาวบ้าน และสามารถต่อยอดการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้รับการยอมรับในสากล และอีกหลายภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการต่อไป คือ การกระจายยาให้ภาคเอกชน เนื่องจาก พรบ. ยาเสพติดให้โทษฉบับปัจจุบันจำกัดให้เฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่สามารถผลิตยากัญชาได้ เราจึงต้องแก้กฎระเบียบหลายประเด็น ซึ่งเราจะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมถึงการพัฒนากลไกและระบบควบคุมการใช้กัญชาที่เหมาะสมตามความเสี่ยง ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ทั่วโลกใช้กันอยู่ในปัจจุบัน”

 “อย่างไรก็ตาม สำหรับโมเดลกัญชา 6 ต้นต่อครอบครัว เราก็ยังไม่ทิ้ง แต่เราจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบบนพื้นฐานของหลักวิชาการ และอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่ครอบคลุม โดยเบื้องต้นสถาบันกัญชาทางการแพทย์จะเร่งดำเนินการการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action research) เพื่อรวบรวมข้อมูล ซึ่งคาดว่าจะรู้ผลภายใน 6 เดือน และเมื่อถึงเวลาที่ พรบ. ยาเสพติดให้โทษฉบับ 8 ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เราจะมีข้อมูลให้สามารถดำเนินการได้ทันที” ดร.ภก.อนันต์ชัย กล่าวในตอนท้าย

 แต่เนื่องด้วยภารกิจหลายประการที่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของประชาชน ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และท่านปลัดกระทรวงจึงเห็นพ้องต้องกันในการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายฯ นี้ เพื่อทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในและนอกกระทรวง ในการนำนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์มาสู่การปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  โดยคณะกรรมการฯ จะมีบทบาทสำคัญในการติดตาม กำกับและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินนโยบายไม่บรรลุผล เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

กัญชา ๓

ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ว่า “ในปีนี้เราจะมุ่งเน้นให้พี่น้องประชาชนคนไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากกัญชาและกัญชง ทั้งในการดูแลสุขภาพ การรักษาผู้ป่วย และยังสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์และการบริการไปสู่การสร้างรายได้ในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่เราได้ดำเนินการไปแล้วตั้งแต่ก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ คือ การปลดส่วนของพืชกัญชาและกัญชง ได้แก่ ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น และราก ออกจากบัญชียาเสพติด และด้วยความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และคณะกรรมการยาเสพติดที่เห็นพ้องกันว่า ส่วนดังกล่าวของพืชกัญชาและกัญชงมีสัดส่วนของสารมึนเมาน้อยมาก จึงสมควรปลดออกมาเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบของวิถีชาวบ้าน และสามารถต่อยอดการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้รับการยอมรับในสากล และอีกหลายภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการต่อไป คือ การกระจายยาให้ภาคเอกชน เนื่องจาก พรบ. ยาเสพติดให้โทษฉบับปัจจุบันจำกัดให้เฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่สามารถผลิตยากัญชาได้ เราจึงต้องแก้กฎระเบียบหลายประเด็น ซึ่งเราจะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมถึงการพัฒนากลไกและระบบควบคุมการใช้กัญชาที่เหมาะสมตามความเสี่ยง ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ทั่วโลกใช้กันอยู่ในปัจจุบัน”

 “อย่างไรก็ตาม สำหรับโมเดลกัญชา 6 ต้นต่อครอบครัว เราก็ยังไม่ทิ้ง แต่เราจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบบนพื้นฐานของหลักวิชาการ และอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่ครอบคลุม โดยเบื้องต้นสถาบันกัญชาทางการแพทย์จะเร่งดำเนินการการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action research) เพื่อรวบรวมข้อมูล ซึ่งคาดว่าจะรู้ผลภายใน 6 เดือน และเมื่อถึงเวลาที่ พรบ. ยาเสพติดให้โทษฉบับ 8 ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เราจะมีข้อมูลให้สามารถดำเนินการได้ทันที” ดร.ภก.อนันต์ชัย กล่าวในตอนท้าย