Around Town

ริชชี่ – เบิ้ล ตัวแทนคนบันเทิงรุ่นใหม่เพื่อชุมชน สร้างความมั่นคงทางรายได้ด้วยการเกษตร

1 Mins read

ริชชี่ อรเณศ ดีคาบาเลส และเบิ้ล ปทุมราช อาร์สยาม ร่วมโครงการสหประชาชาติ ประเทศไทย และดีป้า เพื่อส่งต่อแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างความมั่งคั่งให้กับชุมชนด้วยการเกษตร ร่วมกับเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ชื่อดังทั้ง ทนพ.​ภาคภูมิ เดชหัสดิน เจ้าของเพจ หมอแล็บ แพนด้า เรื่องดิจิทัลมีเดียสร้างความเข้าใจ และความร่วมมือฝ่าวิกฤติโควิด-19 และคุณไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ เทคโนโลยีจะช่วยทำให้เด็กนักเรียนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมการใช้โซลูชั่นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาของโลกในอนาคต

P1599772.00 01 50 43.Still012

อาหารคือความมั่นคงที่ทุกคนขาดไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงของการแพร่ระบาดโควิด-19 อาหารเป็นอีกหนึ่งธุรกิจหลักที่ยังดำเนินต่อไปได้ หลายปีมานี้เราจะเห็นคนบันเทิงทำการเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะคนบันเทิงรุ่นใหม่อย่างคุณริชชี่ อรเณศ ดีคาบาเลส และเบิ้ล ปทุมราช ที่ใช้จิทัลเทคโนโลยีและมุมมองของคนรุ่นใหม่พัฒนาอาชีพเกษตกรรมของครอบครัวซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้ให้กับครอบครัวแล้ว ยังเผื่อแผ่สร้างความมั่นคงทางรายได้ให้ชุมชนสามารถอยู่ได้และไม่ต้องจากบ้านเพื่อไปหางานทำต่างถิ่น ถือเป็นความมั่งคั่ง ตามเป้าหมายสหประชาชาติ จนได้รับเชิญให้ไปแชร์แนวคิดการพัฒาที่ยั่งยืน ในแคมเปญ Decade of Action, Decade of Innovation ทศวรรษแห่งการลงมือทำ  ทศวรรษแห่งนวัตกรรม แถมแต่ละคนผุดไอเดียอยากจะผลักดันผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแบรนด์ไทยให้โกอินเตอร์เพื่อช่วยให้ชุมชนของตัวเองสามารถทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

SDGs คือ เป้าหมายระดับโลก 17 เป้าหมาย ที่มีความเชื่อมโยงกัน ถูกออกแบบมาให้เป็นพิมพ์เขียวเพื่อบรรลุอนาคตที่ดีขึ้นและยั่งยืนมากขึ้นสำหรับทุกคน เป้าหมายดังกล่าวให้ความสำคัญในการขจัดความยากจนและการกีดกันต่างๆ ซึ่งต้องดำเนินควบคู่ไปกับกลยุทธ์การพัฒนาสุขภาพและการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้ง การรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอนุรักษ์ท้องทะเลและป่าไม้

ริชชี่ อัพเดตการทำไร่ชา

P1599772.00 02 19 13.Still023 1

[catlist id=59 numberposts=5 excludeposts=this]

“ครอบครัวริชชี่เป็นเจนเนอร์เรชั่นที่ 4 เป็นผู้นำและดูแลในดอยปู่หมื่น อาชีพหลักของชุมชนคือการปลูกชา เมื่อก่อนสมัยคุณตานำเกษตรเข้ามาทดแทนการปลูกฝิ่น ในยุคที่ฝิ่นผิดกฎหมายเราได้รับชาต้นแรกจากในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงเปลี่ยนอาชีพจากปลูกฝิ่นทั้งหมดมาทำไร่ชา นับแต่นั้นมาที่บ้านดูแลรับซื้อชา พัฒนาชา ไม่ใช่แค่ดอยตัวเอง แต่เราเป็นหมู่บ้านตัวอย่างจึงคอยช่วยส่งเสริมการปลูกชาดอยข้างเคียงและพื้นที่รอบๆ จนปัจจุบันนี้การทำไร่กลายเป็นอาชีพหลัก

ริซ พยายามคิดให้ชาวบ้านมีความมั่นคงขึ้น มีตลาดมากขึ้น เราอยากเพิ่มผลผลิต แต่ก่อนส่งออกไปที่จีน ในฐานะคนรุ่นใหม่เราอยากทำแบรนด์ของไทย จึงทำแบรนด์ตัวเองขึ้นมา เป็นชาดีท็อกซ์โดยนำชามาแปรรูปเป็นการช่วยเพิ่มช่องทางการขายและเพิ่มยอดขาย ช่วยให้ชาวบ้านมีความมั่นคงมากขึ้น และเราก็พอมีชื่อเสียงในการประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้คนอยากรู้ที่มา เราจึงพรีเซนต์ถึงการท่องเที่ยวชุมชน  บนดอยทุกอย่างเป็นธรรมชาติ ออแกนิกหมดเลย ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสวิถีชาวบ้าน เก็บชา การท่องเที่ยวชุมชนซึ่งรายได้ส่วนนึงเป็นของชาวบ้าน แบรนด์ขายออนไลน์ ริชวางแผนว่าเมื่อเปิดประเทศจะส่งออกด้วย ชาผลิตด้วยกระบวนการธรรมชาติเพื่อช่วยระบาย และจะผลิตชาเพื่อสุขภาพ อยากเพิ่มมูลค่าเพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้น มั่นคงเพื่อให้อยู่ในชุมชนตัวเองได้ไม่ต้องออกไปหางาน บนดอยเป็นต้นน้ำ ทุกอย่างออแกนิก เพื่อให้คนเห็นถึงคุณค่าที่มี”

“ริชชี่มองว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนเราทุกคนสามารถทำได้ด้วยการส่งเสริมพัฒนาสิ่งที่เรามีในชุมชน รายได้ส่วนหนึ่งเอาไปช่วยชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมให้ชุมชน เพราะเมื่อเห็นผลผลิตของชุมชนเป็นเรื่องที่ดี เราก็ไม่ต้องทำลายสิ่งแวดล้อม สร้างคุณค่า โดยเฉพาะช่วงนี้ทุกคนกลับบ้านก็จะสังเกตุได้ว่าเรามีอะไรดี พัฒนาตรงนั้น ช่วยทำให้มันมั่นคงและพัฒนามากขึ้น”

P1599772.00 08 41 06.Still028

ส่วนหนุ่มเบิ้ล ปทุมราช แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในด้านการเกษตรจากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการเกษตรแบบผสมผสานแล้ว เบิ้ลร่วมกับแฟนคลับระดมทุนจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อส่งต่อเทคนิคการเกษตรที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้ชุมชนมีรายได้ที่มั่นคงตามมาด้วยเช่นกัน “เบิ้ลเกิดในครอบครัวชาวนา ผมเชื่อเรื่องการเกษตรว่าสามารถอยู่ได้ หากวางแผนและใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ ช่วงที่เบิ้ลเป็นนักร้อง กลับไปคุยกับคุณพ่อ ท่านอยากทำนาตลอดชีวิต แม้ว่าเบิ้ลจะดังหรือไม่ จึงได้ศาสตร์พระราชาจากในหลวงรัชกาลที่ 9 จึง เพื่อทำนาอย่างไรให้ผลผลิต เหลือและแบ่งปันครอบครัวพี่น้องได้ และ ใช้มุมมองของนักร้องของชาวบ้านและแฟนคลับ นำเงินกลับไปทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุในชุมชน เป็นโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อถ่ายทอกแนวคิการเกษตรแบบผสมผสาน แบ่งพื้นที่ทำนามาทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่

 ในแต่ละปีพวกเรานำงบประมาณจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น เชิญชาวบ้านทุกคนมาดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ประกวดแปลงเกษตรดีเด่น มีรางวัล แข่งขันในระดับตำบล และระดับอำเภอ แต่งบประมาณตรงนี้ยังไม่มากเพราะเป็นงบประมาณส่วนตัวของเบิ้ลและแฟนคลับ

ตอนนี้เบิ้ลแบ่งรายได้ให้คุณพ่อและพี่ชายทำนา ไม่ต้องขายข้าวแต่ให้สหกรณ์เพื่อแบ่งให้ชาวบ้าน นอกจากนี้อยากมีผลิตภัณฑ์ข้าวจากชาวนา แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และเป็นคนกลางช่วยชาวนาขายข้าว ให้เขามีรายได้ไม่ต้องพึ่งพ่อค้าคนกลงซึ่งไม่ต้องเจอกับความผกผันกับราคาข้าวในแต่ละปี”

การสร้างความมั่งคั่งทางการเกษตรมีความสำคัญอย่างไร และทำไมถึงต้องลงมือทำทันที

“การลงมือทำสำคัญมากๆ คิดอย่างเดียวไม่ทำก็ไม่เกิดประโยชน์ เบิ้ลถือคติคิดให้มากกว่าพูด และพูดให้น้อยกว่าทำ บางคนคิดว่าเบิ้ลเป็นนักร้อง มีต้นทุน แต่ตอนที่ผมเป็นนักร้องผมไม่มีเงินถึง 500 บาท ทุกคนคิดเสมอว่าการทำอะไรสักอย่างต้องรอโอกาส ต้องมีคนมาให้โอกาส ต้องรอจังหวะชีวิต ผมว่าเราสามารถสร้างโอกาสให้ตัวเอง มันจะมาไวกว่าการที่เรารอโอกาส ทุกคนเกิดมามีสิทธิเท่าเทียมกัน ความสำเร็จของผมเกิดจากการปฏิบัติส่วนใหญ่ อยากส่งมอบแนวคิดนี้ให้ชาวบ้านและแฟนคลับที่ติดตามในโซเชียลผ่านเสียงเพลงและผลงาน อยากให้ทุกคนรู้ว่าอาชีพเกษตรกรสำคัญ ข้าวสำคัญเพราะเป็นกระดูกสันหลังและมนุษย์ทุกคนขาดไม่ได้”

P1599772.00 04 54 02.Still024

คำถาม ได้รับผลกระทบไหมธุรกิจนาที่บ้าน

“เกษตรได้รับผลกระทบแต่ไม่เยอะ ส่วนใหญ่จะหวาดระแวง เพราะไม่ได้มีต้นทุนในการไปตรวจโควิด-19 ที่เห็นได้ชัดคือการไม่ได้ร่วมกันช่วยเหลือทำนา แต่ละครอบครัวทำกันเองเพื่อป้องกันการระบาด ตอนนี้เกษตรกรเปลี่ยนจากวิธีการดำนาเป็นการหว่าน ทำให้ต้นทุนลดลง”