WeChat Pay ตั้งเป้าอนาคตให้บริการในไทย หลังเปิดแล้วที่จีน ฮ่องกง มาเลเซีย

WeChat Pay ตั้งเป้าอนาคตให้บริการในไทย หลังเปิดแล้วที่จีน ฮ่องกง มาเลเซีย

เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง เปิดเผยความสำเร็จของการใช้ระบบการเงินผ่าน WeChat Pay ซึ่ง เปิดให้บริการสำหรับผู้บริโภคแล้วใน จีน, ฮ่องกง และ มาเลเซีย ส่วนในไทยยังไม่กำหนดกรอบเวลา ต้องศึกษาการทำงานร่วมกับพันธมิตรในประเทศไทยก่อน  อาทิ พันธมิตรด้านสถาบันการเงิน ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน WeChat Pay เดือนละ 800 ล้านคน ยอดการโอนเงินช่วงวันปีใหม่จีนผ่านการมอบอั่งเปาออนไลน์ปี 2561 สูงถึง 3,647 ล้านบาทใน 1 สัปดาห์


นายรอยัล เชน รองประธาน เทคโนโลยีด้านการเงิน  บริษัท เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง  เปิดเผยในงาน Money20/20  ซึ่งเป็นงานจัดประชุมนานาชาติ เกี่ยวกับ Payments,  FinTech  และ  บริการด้านการเงิน  ที่เมืองหางโจว  สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 14-16 พ.ย.2561 ระบุว่า บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคจีนให้ได้รับประสบการณ์ทางการเงินที่สะดวกสบาย ทั้งการใช้เงินภายในประเทศจีน รวมทั้งคนจีนที่เดินทางออกนอกประเทศก็ยังสามารถใช้จ่ายได้ประหนึ่งยังอยู่ในประเทศ  โดยไม่ต้องคำนึงเรื่องของ การพกเงินสด  โดยการทำธุรกรรมทั้งหมด ทำผ่านโทรศัพท์มือถือ บน Application  WeChat  สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการใช้งานมากกว่า 1 พันล้าน สมาชิก  บริการทางการเงินผ่าน WeChat  ชื่อ WeChat  Pay มีจำนวนผู้ใช้งานเดือนละ 800 ล้านคน  เมื่อปี พ.ศ.2557  WeChat Pay เริ่มกระจายการใช้งานอย่างแพร่หลาย  และ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง  สถิติการใช้งานล่าสุด ในช่วง สัปดาห์ของการมอบอั่งเปา หรือ ช่วงวันปีใหม่จีน  พ.ศ. 2561  หรือที่ชาวจีนเรียกว่า Red Pocket ในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ มียอดเงินอั่งเปาที่โอนให้ระหว่างกันผ่าน WeChat Pay มูลค่า 768 ล้านหยวน (3,647 ล้านบาท)  สำหรับ WeChat Pay มีธุรกิจที่รองรับกว่า 80 หมวด

ปัจจุบันนี้ เทนเซ็นต์ ขยายหน้าร้าน ที่รองรับการจ่ายเงินผ่าน WeChat Pay ไปแล้วกว่า 40 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ บริการ  WeChat Pay สำหรับผู้บริโภค มีการเปิดให้บริการแล้ว 3 ประเทศ ได้แก่ จีน, ฮ่องกง และ มาเลย์เซีย ซึ่งเป็นประเทศล่าสุด เปิดให้บริการในปี 2561 นายเชน เปิดเผยว่าการเติบโตของการใช้ WeChat  ในมาเลย์เซียนั้นเกินกว่าที่คาดหมายไว้   ส่วนการขยายมายังประเทศไทยนั้นยังไม่ได้กำหนดกรอบเวลา ซึ่งหากมีการขยายจะเป็นการทำงานกับพันธมิตรท้องถิ่น เนื่องจากเป็นเรื่องของการเงิน เช่น การทำงานร่วมกับสถาบันการเงิน เป็นต้น

สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการใช้งาน WeChat Pay ในประเทศจีน สามารถสมัครเพื่อเชื่อมบัญชี WeChat Pay กับ บัญชีธนาคาร หรือ บัญชีบัตรเครดิต โดยแบ่งเป็น  ผู้ที่พักอาศัยระยะยาว และ ผู้พักอาศัยระยะสั้น  ผู้พักอาศัยระยะยาว สามารถยืนยันข้อมูลด้วย บัญชีธนาคารในจีน  ปัจจุบันมีกว่า 80 ธนาคารรองรับ และ พาสปอต หรือ เอกสารรองรับการพำนักระยะยาว  ส่วนผู้พักอาศัยระยะสั้น  สามารถยืนยันข้อมูลด้วย บัญชีธนาคารต่างประเทศ , เลขที่บัญชีบัตรเครดิตชั้นนำ    

นอกจากนี้ยังมี บริการคืนภาษีที่สนามบินให้กับนักท่องเที่ยวจีนผ่าน WeChat Pay เป็นอีก 1 รูปแบบที่ เทนเซ็นต์ เริ่มเปิดให้บริการแล้ว ใน 19 ประเทศ 81 สนามบิน ซึ่งยังไม่รวมประเทศไทย ซึ่งช่วยให้ลดขั้นตอน และ เวลาในการขอคืนภาษีก่อนเดินทางกลับประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวจีน

นายเชน กล่าวถึงอนาคตของรูปแบบการเงิน ที่อาจจะไม่ใช้สื่อกลางอย่าง QR Code เพื่อยืนยันตัวตนแล้ว แต่จะเป็นการใช้ การสั่งงานด้วยเสียง หรือ การจดจำใบหน้าแทน เนื่องจาก ข้อมูลของผู้ใช้ที่ถูกเก็บไว้ใน

ระบบ cloud computing และ big data  ทำให้การทำธุรกรรมต่างๆ ทั้งภายในประเทศ และ ข้ามประเทศ ทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่ง  Tencent Cloud รองรับทั้ง   การสั่งงานด้วยเสียง หรือ การจดจำใบหน้า

สำหรับเทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) มีการให้บริการ บน WeChat ในส่วนของสื่อโฆษณา TSA ( Tencent Social Ads)  เพื่อให้ แบรนด์ต่างๆ ได้ใช้ประโยชน์จากสื่อ WeChat  ที่ มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงคนจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย เช่น การประชาสัมพันธ์ กิจกรรมทางการตลาด , การสร้างการรับรู้สำหรับลูกค้าจีนที่ใช้จ่ายในประเทศไทย  สินค้าต่างๆที่สนใจสามารถ โดยแบรนด์ที่สนใจสามารถแจ้งความจำนงได้ทางเว็บไซต์ https://www.tencent.co.th/th/product/services/   

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line