Around Town

เอ็นข้อมืออักเสบ อันตรายใกล้ตัวกว่าที่คิด

1 Mins read

เอ็น ข้อ มือ อักเสบ

เคยหรือไม่ที่บางครั้งรู้สึกเจ็บแปลบบริเวณข้อมือ รู้สึกชาเมื่อเคลื่อนไหวนิ้วมือ ชาที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ หรือเกิดอาการเกร็งข้อมือขึ้นมาเฉย ๆ ถ้าหากคุณมีอาการเหล่านี้ แม้เพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นสัญญาณเตือนของอาการเอ็นข้อมืออักเสบได้ อาการที่ว่ามักจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว หรือใช้มือผิดท่า เช่น ยกของหนักเกินไป หรือหากเป็นคนทำงาน พนักงานออฟฟิศ ก็อาจเกิดจากการใช้งานข้อมือซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เช่น ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ในแต่ละวัน ใช้สมาร์ตโฟนเป็นเวลานาน หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา ก็อาจมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น อาจรุนแรงจนถึงขั้นมือบวม และนำไปสู่โรคต่าง ๆ วันนี้เรามาแนะนำเคล็ดลับดี ๆ วิธีดูแลรักษาและเรียนรู้ไปด้วยกันว่า ทำไมเอ็นข้อมืออักเสบ อันตรายใกล้ตัวกว่าที่คิด

เอ็นข้อมืออักเสบคืออะไร

มือเป็นอวัยวะที่ใช้งานสูงสุดในชีวิตประจำวัน หลายคนเลยคิดว่าอาการปวดข้อมือเป็นเรื่องเล็กน้อย ปวดได้ก็หายเอง แต่จริง ๆ แล้วหากมีอาการปวดข้อมือขึ้นมา ต้องรีบดูแลรักษาโดยทันทีก่อนจะลุกลามเป็นอาการเอ็นข้อมืออักเสบ (De quervain’s disease) ที่เยื่อหุ้มเอ็น หรือเส้นเอ็นบริเวณข้อมือด้านหลังนิ้วหัวแม่มือ เกิดการตึงหรือหดตัว ในเบื้องต้นอาจเกิดจากสาเหตุง่าย ๆ เช่น การทำงานบ้าน กวาดบ้าน ถูบ้าน  ซักผ้า หรือการทำงานที่ใช้มือซ้ำ ๆ ท่าทางเดิม ๆ หรืออาจมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพ เพราะอายุมากขึ้น รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง โรครูมาตอยด์

อาการเอ็นข้อมืออักเสบที่พบบ่อย

  • เจ็บแปลบเมื่อขยับนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะการขยับนิ้วเข้าหาฝ่ามือ หรือกำมือ
  • รู้สึกเจ็บเมื่อกดบริเวณใต้รอยต่อข้อมือ
  • ผิวหนังบริเวณข้อมือจะร้อนผ่าว หรือคลำดูเหมือนมีก้อนบริเวณข้อมือ
  • อาจมีอาการชา และเกร็งข้อมือ

การรักษาอาการเอ็นข้อมืออักเสบในเบื้องต้น

  • หากเจ็บแปลบบริเวณข้อมือ รู้สึกชา เมื่อเคลื่อนไหวนิ้วมือ เกิดอาการเกร็งที่นิ้วหัวแม่มือ ควรหยุดพักการใช้งานมือ ลองปรับวิธีการใช้งานข้อมือ ปรับเปลี่ยนท่าทางที่เหมาะสม
  • ควรแช่น้ำอุ่น วันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที
  • ทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองในเบื้องต้น เช่น กํามือและแบมือเบา ๆ งอข้อนิ้วมือตรงโคนนิ้วให้ทํามุมตั้งฉากกับฝ่ามือ หรือกดนวดฝ่ามือเบา ๆ
  • กินยาแก้ปวด แก้อักเสบ ลดการบวม
  • ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง

นอกจากอาการเอ็นข้อมืออักเสบจะเป็นเรื่องอันตรายและใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด ยังเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ง่ายมาก ๆ ถ้าหากมีอาการปวดให้ลองสังเกตอาการตัวเองในเบื้องต้นดูก่อน แต่ทางที่ดีแนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมในการรักษา เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทรมานกับอาการเจ็บแปลบ หรือปวดข้อมือเรื้อรังอีกต่อไป หากมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ สามารถเข้าไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข (KDMS Hospital) โรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการดูแลรักษากระดูก และข้อ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตคนไข้ ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เช่นเดิม หรือใช้ชีวิตได้อย่างใจต้องการ