Around Town

สวนกระแสโควิด-19! “พ็อพส์” เผยแบรนด์ทุ่มงบโฆษณาออนไลน์พุ่งกว่า 20% พร้อมชูกลยุทธ์ “Beyond Influencer Marketing” ทำแคมเปญให้ปังด้วยอินฟลูเอนเซอร์

1 Mins read

“พ็อพส์ (ประเทศไทย)” เผยงบซื้อสื่อโฆษณาออนไลน์จากแบรนด์ในช่วงวิกฤตโควิด-19 โตพรวดกว่า 20% จับตาเทรนด์ “อินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้ง” แรงต่อเนื่อง! พร้อมจับมือคอนเทนต์ครีเอเตอร์มืออาชีพ เปิดกลยุทธ์ Beyond Influencer Marketing โปรโมทแบรนด์สินค้าแบบตรงกลุ่ม เน้นสร้างยอดขายให้ปัง! แบบเจาะตรงโดนใจผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายผ่านสื่อออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ
นายบานิ แทน(Mr.Bani Tan) ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท พ็อพส์ (ประเทศไทย) จำกัด (POPS Thailand)
 เอเจนซี่การตลาดออนไลน์และผู้นำด้านการผลิตคอนเทนต์แบบหลายแพลตฟอร์มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า จากวิกฤตโควิด-19 ทำให้หลายธุรกิจหยุดชะงัก ส่งผลให้องค์กรต่างๆ ต้องปรับลดงบประมาณการซื้อสื่อโฆษณาลง หากแต่ในด้านของการใช้สื่อออนไลน์โดยเฉพาะในกลุ่ม Influencer กลับมีแนวโน้มการเติบโตสวนทางสื่อในกลุ่มอื่นๆ ซึ่งพ็อพส์ฯ ได้เก็บสถิติงบประมาณโฆษณาของแบรนด์ที่ทำแคมเปญกับบริษัทฯ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา (มกราคม-มิถุนายน 2563) จำนวนรวมกว่า 390 แคมเปญ พบว่ามีการทุ่มเม็ดเงินให้กับสื่อออนไลน์และ Influencer เพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เนื่องจากแต่ละแบรนด์ได้มีการปรับลดการจัดกิจกรรมออฟไลน์การตลาดอื่นๆ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 และปรับงบประมาณเพิ่มสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้สื่อออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

K.Bani Tan

นายบานิ กล่าวว่า พ็อพส์ฯ มีบริการวางแผน บริหารจัดการ และผลิตคอนเทนต์สร้างการรับรู้และจดจำแบรนด์ในสินค้าหลายกลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึงการทำงานร่วมกับ Influencer ชั้นนำหลายราย อาทิ The Snack, Peachii, Bearhug, Kaykai salaider, Bie the ska, และอื่นๆ   โดยเฉพาะการพิจารณาและนำเสนอ Influencer ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ในการทำงานร่วมกันเพื่อให้แคมเปญการตลาดประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งวิกฤตโควิด-19 ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เทรนด์ของ Influencer เปลี่ยนแปลงไป เพราะนอกจากผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นและหลายแพลตฟอร์มมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแล้ว ในส่วนของ Influencer ได้มีการปรับตัวตามเช่นกัน เช่น ศิลปินดาราผันตัวมาเป็น YouTuber จำนวนมาก ส่งผลให้การแข่งขันในตลาด Influencer ทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากศิลปินดาราเป็นกลุ่มที่มีฐานแฟนคลับเดิมที่สูงอยู่แล้ว ดังนั้น Influencer ที่เป็นสายคอนเทนต์ดั้งเดิมต้องปรับตัวด้วยการสร้างกิจกรรมที่โดดเด่นน่าสนใจและตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ที่สำคัญคือสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มรวมทั้งภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ ถือเป็นกลยุทธ์ Beyond Influencer Marketing ที่จะช่วยสร้างทั้งกระแสความสนใจ ยอดขาย และภาพลักษณ์ของสินค้าควบคู่ไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การทำแคมเปญความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างแบรนด์และ Influencer ในการผลิตสินค้าคอลเลคชั่นพิเศษขึ้น เป็นต้น

ด้านนายปิยพล ม่วงมี หรือ “จีโน่” ครีเอทีฟและผู้ก่อตั้ง บริษัท เดอะ สแน็ค เวิลด์ จำกัด เจ้าของช่องยูทูบชื่อดังขวัญใจวัยรุ่น “The Snack” ผู้เป็น trend setter ของวัยรุ่น ทั้งในเรื่องแฟชั่น และความคิด การใช้ชีวิต ในแบบฉบับของ the snack ด้วยจำนวนผู้ติดตามกว่า 3.41 ล้านคน กล่าวว่า The Snack ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับพ็อพส์ฯ ในการผลิตคอนเทนต์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น YouTube โดยพ็อพส์ฯ จะดูแลด้านการขายแบรนด์คอนเทนต์ (Branded Content) ให้กับ The Snack ซึ่งการที่สินค้าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้ผลิตคอนเทนต์ต้องทำงานร่วมกับนักการตลาดและแบรนด์สินค้า โดยในส่วนของ The Snack จะได้รับข้อมูลความคิดเห็นหรือฟีดแบคจากลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์นั้นๆ โดยตรงว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร ต้องการคอนเทนต์ในรูปแบบใด โดยหลังจากนั้น The Snack จะนำฟีคแบคจากลูกค้ามาสร้างสรรค์คอนเทนต์และสื่อสารไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการนำเสนอข้อความหลัก (Key Message) ของแบรนด์สินค้าให้ครบถ้วนเพื่อเป็นการส่งเสริมการขายอย่างสมบูรณ์แบบ

[catlist id=59 numberposts=5 excludeposts=this]

“ยกตัวอย่างแคมเปญในรูปแบบ Beyond Influencer Marketing ของ The Snack ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในช่วงโควิด-19 คือ รองเท้านักเรียน Gold City คอลเลคชั่นThe Snack X Gold City ซึ่ง The Snack ได้ร่วมดีไซน์ความเป็นเเฟชั่นลงบนรองเท้านักเรียนGold City คอลเลคชั่นพิเศษที่ผลิตจำนวนจำกัดเพียง 3,000 คู่เท่านั้น ในราคาที่สูงกว่าคอลเลคชั่นปกติ และเปิดขายแบบสั่งจองล่วงหน้า จนสามารถสร้างปรากฏการณ์เว็บล่ม ขายหมดอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นโปรเจกต์พิเศษที่เกิดขึ้นของ The Snack กับแบรนด์ Gold Cityโดยมองว่าเรื่องยากสำหรับการทำคอนเทนต์คือ ความสม่ำเสมอในการเสิร์ฟคอนเทนต์ให้กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ และอัพเดทเทรนด์ใหม่ๆ ที่ไม่จำเจ  เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงง่าย และรวดเร็ว เราจำเป็นต้องเช็คเทรนด์และอัพเดทตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อครีเอทคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์แบรนด์สินค้าและตรงใจกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด”นายปิยพล กล่าวในตอนท้าย