Around Town

วิธีรักษาแผลเบาหวานอย่างถูกวิธี ดูแลดีไม่มีลุกลาม

1 Mins read

13 synphaet

หนึ่งในโรคยอดนิยมที่พบได้ในคนไทยคือโรคเบาหวาน ดังนั้นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรระมัดระวังควบคู่กันไปคือระมัดระวังไม่ให้เกิดแผลเรื้อรัง นอกจากจะใช้เวลาในการฟื้นฟูแผลให้หายกลับมาเป็นปกติแล้ว การเป็นแผลสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นอาจนำมาซึ่งปัญหารุนแรงตามมาก็เป็นได้ แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ วิธีรักษาแผลเบาหวานก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากและไกลตัวอย่างที่คิด สามารถดูแลได้ด้วยตนเอง แต่จะมีอะไรบ้าง บทความนี้มีข้อมูลดีๆ มาฝาก

แผลปิดให้แห้งสนิท

วิธีรักษาแผลเบาหวานอย่างแรกสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก็คือการระมัดระวังไม่ให้แผลอับหรือชื้น ควรปิดแผลให้แห้งสนิท ยาฆ่าเชื้อต้องใส่อย่าให้ขาดเพื่อรักษาความสะอาดของแผลอย่างสม่ำเสมอจนกว่าแผลจะแห้ง และที่สำคัญของวิธีรักษาแผลเบาหวานคือต้องระมัดระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ ปิดให้แห้งสนิทให้ได้มากที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้แผลลุกลามนั่นเอง

หมั่นสังเกตแผล

วิธีรักษาแผลเบาหวานในลำดับถัดมาคืออย่าลืมที่จะหมั่นสังเกตแผลอย่างสม่ำเสมอด้วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่ รวมไปถึงให้สังเกตอาการร่วมด้วยว่ามีอาการปวด แผลมีอาการบวมหรือมีน้ำเหลืองหรือไม่ ถ้าหากมีอาการดังกล่าวแนะนำให้รีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อและอาการลุกลามในภายหลัง

หากแผลมีหนอง ไม่ควรปล่อยไว้

อีกหนึ่งอาการสำคัญที่ผู้ป่วยเบาหวานควรทราบเกี่ยวกับวิธีรักษาแผลเบาหวานนั่นก็คือถ้าหากสังเกตอาการแล้วพบว่าแผลเริ่มมีหนอง นั่นหมายถึงว่าแผลเริ่มติดเชื้อแล้ว ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน แต่ในระหว่างนั้นวิธีรักษาแผลเบาหวานที่สามารถปฐมพยาบาลแบบง่ายๆ ก็คือใช้ผ้าก๊อซสะอาดชุบเพื่อซับน้ำหนองออกให้หมด จากนั้นให้เดินทางไปพบแพทย์โดยทันที

ไม่ควรมองข้ามแผลกดทับ

หากคุณคือผู้ป่วยเบาหวานที่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้และพอจะทราบวิธีรักษาแผลเบาหวานในเบื้องต้นก็แนะนำให้ทำตามขั้นตอนที่แนะนำไปในข้างต้น แต่ถ้าหากจะพูดถึงผู้ป่วยที่มีเหตุจำเป็นให้ต้องนอนติดเตียงและมีภาวะของโรคเบาหวานด้วยแล้วนั้น แนะนำว่าให้ตรวจเช็กอาการของแผลกดทับให้ดี เป็นสิ่งสำคัญที่ญาติต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด แนะนำว่าให้หมั่นทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียซึ่งจะพัฒนากลายเป็นแผลกดทับได้ในลำดับถัดไป

สิ่งสุดท้ายเกี่ยวกับวิธีรักษาแผลเบาหวานคือการรักษาความสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลติดเชื้อ อาจจะดูแลรักษาแบบง่ายๆ ด้วยการล้างแผลด้วยสบู่ ล้างแผลด้วยน้ำอุ่น นอกจากนี้เรื่องของการรักษาความสะอาดที่ดีควรล้างแผลอย่างน้อยวันละ 2-4 ครั้ง และที่สำคัญไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ในการล้างแผลเนื่องจากอาจจะไปทำลายโปรตีนบนเนื้อเยื่อผิวหนังและทำให้แผลเกิดการอักเสบขึ้นมาได้