ภาพยนตร์

 5 เหตุผล ที่ไม่อยากให้พลาดชม 18×2 Beyond Youthful Days รักเรายังคิดถึง

1 Mins read

18x2 Beyond Youthful Days รักเรายังคิดถึง 23

สร้างจากเรื่องจริงจากบันทึกการเดินทางที่โพสต์ลงบนอินเทอร์เน็ตของนักพัฒนาวิดีโอเกมชาวไต้หวัน จิมมี ไล่ ผู้ตกหลุมรัก อามิ สาวญี่ปุ่นที่มีความฝันอยากเดินทางไปรอบโลก

18x2 Beyond Youthful Days รักเรายังคิดถึง เกร็ดหนัง 3

-ภาพยนตร์รักโดยผู้กำกับ The Last 10 Years หนังที่ประสบความสำเร็จทางรายได้ใน บ็ อกซ์ออฟฟิศประเทศญี่ปุ่นทะลุ 3 พันล้านเยน  จากความสำเร็จนี้ทำให้เขาได้มาทำหนังโปรเจ็กต์  ร่วมสร้างระดับนานาชาติเป็นเรื่องแรกของเขา 

โดยมีฉากหลังในญี่ปุ่นและไต้หวันซึ่งเล่าเรื่องราวความรักที่กินเวลายาวนานถึง 18 ปี

18x2 Beyond Youthful Days รักเรายังคิดถึง เกร็ดหนัง 4

-ถ่ายทอดความโรแมนติก ผ่านฉากหลังประเทศญี่ปุ่น และประเทศไต้หวัน

18x2 Beyond Youthful Days รักเรายังคิดถึง เกร็ดหนัง 5

-ได้ผู้กำกับภาพฝีมือเยี่ยม ซึ่งเป็นที่รู้จักจากภาพยนตร์ April, Come She Will และ the last 10 Years

18x2 Beyond Youthful Days รักเรายังคิดถึง เกร็ดหนัง 6

-เพลงประกอบเรื่องนี้มีชื่อว่า “Kiokunotabibito” ซึ่งมีความหมายว่า นักเดินทางแห่งความทรงจำ(traveler of memory 記憶の旅人) โดยได้ คาสุโทชิ ซากุไร จาก Mr. Children วงดนตรีระดับตำนานของญี่ปุ่นมาเป็นผู้ประพันธ์ให้

18x2 Beyond Youthful Days รักเรายังคิดถึง เกร็ดหนัง 7

จุดเริ่มต้น

“18 x 2 Beyond Youthful Days” เกิดขึ้นได้เมื่อ “จางเจิ้น” (Chang Chen) นักแสดงมากความสามารถจากไต้หวันผู้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติได้ไปอ่านบทความท่องเที่ยวเรื่อง “18 x 2 Youth: A Slow Journey Through Japan” ซึ่งเขียน โดย Jimmy บทความนี้สร้างความฮือฮาอย่างมากในไต้หวัน จางเจิ้นก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ประทับใจในเรื่องราวที่ไม่เหมือนใครเรื่องนี้สุดๆ เขาเลยมีความคิดที่จะนำมาทำเป็นภาพยนตร์ จนเขาได้รู้จักกับผู้กำกับญี่ปุ่นหน้าใหม่ไฟแรง มิจิฮิโตะ ฟูจิอิ ซึ่งเป็นคนที่มีเชื้อสายไต้หวันและมีความคิดอยากสร้างภาพยนตร์ที่ไต้หวันมาแต่อายุ 20 ปี  เมื่อความต้องการของทั้งคู่ตรงกันโปรเจกต์ระดับนานาชาติเรื่องนี้จึงได้เกิดขึ้น

ความต่างที่น่าทึ่ง
มิจิฮิโตะ ฟูจิอิ   เล่าถึงประสบการณ์อันล้ำค่ำที่เขาได้พบเจอระหว่างการทำงานร่วมมือกันระหว่างญี่ปุ่น-ไต้หวันว่า”ประสบการณ์ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยวาจาได้ทำให้ ผมรู้ว่ามันเหลือเชื่อแค่ไหน เราพยายามทำความเข้าใจกันมากขึ้นเพราะอุปสรรคทางภาษา แทนที่จะถามหาคำตอบ เราทุกคนต่างคิดร่วมกันเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาที่แท้จริง   การแลกเปลี่ยนคำพูดอย่างพวกเราจากญี่ปุ่นที่พูดว่า ‘Xie Xie’ (ขอบคุณในภาษาจีน) กับพวกเขา และพวกเขาตอบกลับด้วย ‘Arigato’ (ขอบคุณในภาษาญี่ปุ่น) กับเรานั้นเป็นประสบการณ์ที่น่ายินดีซึ่งถ้าผมไม่ได้ทำหนังเรื่องนี้เราคงไม่ได้พบกับธรรมชาติและความเป็นมนุษย์แบบนี้”

สถานที่ในความทรงจำ
สถานที่ถ่ายทำในเรื่องนี้มีการปรับเปลี่ยนจากต้นฉบับเล็กน้อย โดยต้นฉบับ จิมมี่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยในไทเป และบ้านเกิดของเขาตั้งอยู่ในเจียอี้ (ในภาษาฮกเกี้ยนไต้หวัน/ภาษาญี่ปุ่น เรียก คากิ) เมืองทางภาคใต้ของไต้หวัน แต่เมื่อทีมงานไปสำรวจสถานที่แล้วรู้สึกว่าเมืองนี้แม้จะสวยงามแต่มันยังไม่ค่อยสร้างความแตกต่างให้กับหนังมากนักเพราะเมืองนี้เป็นเมืองที่ได้รับอิทธิพลญี่ปุ่นมาเยอะ  ผู้กำกับ มิจิฮิโตะ ฟูจิอิ จึงเสนอไอเดียให้เปลี่ยนเป็นเมืองไถหนาน จังหวัดที่เก่าแก่ที่สุดในไต้หวัน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของปู่เขา ซึ่งเมื่อไปแล้วรู้สึกได้ว่า สถานที่แห่งนี้ยังคงรักษาวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และความอบอุ่นเอาไว้ และสัมผัสได้ถึงการมีอยู่ของญี่ปุ่น

ส่วนการถ่ายทำในญี่ปุ่น  จิมมี่เดินทางย้อนรอยไปในความทรงจำที่เขาเคยมีร่วมกับอามิ เขาออกจากโตเกียวไปยังคามาคุระ ไปยังนากาโนะ ไปยังนีงาตะ และไปยังฟุกุชิมะ ซึ่งทางกองถ่ายได้รับการสนับสนุนจากบริษัท East Japan Railway ทำให้เดินทางสะดวก โดยที่ญี่ปุ่นจะถ่ายทำไปตามสถานการณ์จริงแบบเดียวกับการถ่ายสารคดี  โดยเริ่มจากคามาคุระเพราะที่นี่เป็นเหมือนแดนศักดิ์สิทธิ์ของแฟนการ์ตูน ‘SLAM DUNK’ ที่ทุกคนต้องมาเยือน ส่วนฉากเด็ดในญี่ปุ่นที่ทีมงานหวังว่าผู้ชมจะชอบเพราะถ่ายทำกันลำบากมาก คือฉากภูมิทัศน์อันสวยงามที่ถูกปกคลุมไปด้วยหิมะขณะที่รถไฟออกจากอุโมงค์ เพราะทีมงานมีเวลาเพียงไม่กี่วินาทีและหวังว่าผู้ชมจะสนุกกับการตามรอยหนังเรื่องนี้เมื่อออกฉายแล้ว

นักเดินทางแห่งความทรงจำ เพลงสุดเพราะจาก Mr.Children  
บทเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ Mr. Children วงดนตรีระดับตำนานของญี่ปุ่นมาเป็นผู้ประพันธ์ให้โดยผู้กำกับมิจิฮิโตะ ฟูจิอิ ยังไม่อยากจะเชื่อว่าตัวเขาเองจะได้รับเกียรตินี้ โดยไอเดียเริ่มต้นเกิดจากการที่เขาฟังเพลงของวงนี้มาตั้งแต่วัยรุ่นและอยากให้เพลงของวงเป็นส่วนหนึ่งของการหวนระลึกถึงความหลัง ทางโปรดิวเซอร์ของหนังได้ติดต่อทางวงไปโดยไม่คาดหวังว่าทางวงจะตอบตกลงแต่เมื่อทางวงติดต่อกลับมาก็ทำให้ดีใจถึงขั้นร้องไห้ เพลงประกอบเรื่องนี้มีชื่อว่า “Kiokunotabibito”ซึ่งมีความหมายว่า นักเดินทางแห่งความทรงจำ (traveler of memory 記憶の旅人) แต่งโดย คาสุโทชิ ซากุไร (Kazutoshi Sakurai) นักร้องนำของวงที่แต่งพลงนี้หลังจากอ่านบท ซึ่งสามารถจับแก่นแท้ของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อย่างแม่นยำจนสร้างความประทับใจให้กับทั้งผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ และทางผู้กำกับก็ฟังเพลงนี้อย่างต่อเนื่องระหว่างการเดินทางถ่ายทำในสถานที่ต่างๆ จนกลายเป็นหัวใจสำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้”

18×2 Beyond Youthful Days  รักเรายังคิดถึง

20 มิถุนายน ในโรงภาพยนตร์

ตัวอย่างภาพยนตร์