Around Town

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา พร้อมสมาคมสมองกลฝังตัวไทยและภาคีเครือข่าย จัดการประชัน TESA TOP GUN RALLY 16

1 Mins read

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาร่วมกับสมาคมสมองกลฝังตัวไทยและภาคีเครือข่ายจัดโครงการประชันทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัวชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 16TESA TOP GUN RALLY #16ภายใต้แนวคิด “การพัฒนาอุปกรณ์สำหรับจักรวาลนฤมิตรDevice development for Metaverse” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเพื่อเฟ้นหาสุดยอดฝีมือวิศวกรทางด้านระบบสมองกลฝังตัวของประเทศไทยณ ห้องประชุมเทพรัตนพิทยากร 605 สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า

รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ

        รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีกล่าวว่าสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดามีนโยบายในการส่งเสริมงานวิจัย นวัตกรรมและผลงานสร้างสรรค์เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม มีหลักสูตรสมองกลฝังตัวในระดับ ปวช. และศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศไทย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดการแข่งขันประชันทักษะทางด้านสมองกลฝังตัวครั้งนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทางด้านนี้ให้มีความรู้ความสามารถมากขึ้นและมีศักยภาพที่แข่งขันได้ในเวทีระดับโลกต่อไป

ผศ.อภิเนตร อูนากูล

        ด้านผศ.อภิเนตร อูนากูลอดีตนายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย กล่าวว่า โดยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐภาคอุตสาหกรรมสถาบันการศึกษาและผู้พัฒนา การจัดโครงการพัฒนาทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัวเป็นการเปิดเวทีให้สถาบันการศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้องค์ความรู้และเทคโนโลยีของระบบสมองกลฝังตัวจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆรวมทั้งได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับงานพัฒนาจากการแก้ปัญหาที่กำหนดในแต่ละวันบนหลักการของProblem-Based Learning โดยTESA Top Gun #16จัดภายใต้แนวคิดการพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์สมองกลฝังตัวสำหรับMetaverse โดยเป็นการสร้างอุปกรณ์ถุงมือสัมผัส (Haptic Glove) สำหรับใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือเพื่อส่งข้อมูลไปยังโลกเสมือน (Virtual World) และส่งผลการตอบสนองในโลกเสมือนย้อนกลับมายังถุงมือเพื่อให้ผู้ใช้รับรู้ถึงการมีตัวตนอยู่ของสิ่งของในโลกเสมือนเช่นการสั่นไหวที่บริเวณนิ้วมือเป็นต้นโดยความขีดความสามารถของอุปกรณ์นี้ที่จะคอยประสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง (Real World) และโลกเสมือน (Virtual World) เข้าด้วยกัน

รศ.ดร.วรา วราวิทย์

        รองศาสตราจารย์ ดร.วรา วราวิทย์ คณบดีคณะเทคโนโลยีดิจิทัล สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดโครงการการว่ามีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์เพื่อเร่งพัฒนาบุคลากรทางด้านการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมทั้งภายในและต่างประเทศสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวในประเทศไทยสร้างการเชื่อมโยงระหว่างนักพัฒนาสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเรียนการสอนทางด้านระบบสมองกลฝังตัวให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของแต่ละทีมจะได้รับโอกาสในการประชันความสามารถและทักษะในการเรียนรู้การแก้ปัญหาการนำเสนอและความชำนาญในการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวซึ่งคณะกรรมการจะประเมินออกมาเป็นคะแนนสะสมในแต่ละครั้งโดยทีมนักศึกษาที่มีคะแนนสะสมสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประชัน