Around Town

ผลสำรวจ SiteMinder เผยยอดจองห้องพักไทยปัจจุบันอยู่ในระยะสอง – ระยะคงที่

1 Mins read

รายงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวฉบับล่าสุด ซึ่งจัดทำขึ้นโดย SiteMinder ผู้นำแพลตฟอร์มตัวกลางระดับโลกในการเข้าถึงลูกค้าให้กับธุรกิจโรงแรม เผยผู้ให้บริการที่พักทั่วโลกที่มีกว่าหนึ่งล้านรายจะเผชิญกับ 5 ระยะการปรับตัวในวงจรการจองที่พัก จนกว่าจะพ้นวิกฤตการแพร่ระบาด โดยรายงานการศึกษาพฤติกรรมและความชอบที่เปลี่ยนไปของนักท่องเที่ยวเป็นระยะเวลา 6 เดือนของ SiteMinder ภายใต้ชื่อ Booming to Privilege: The New Realities for a Hotel Industry in Need of a Reset ได้ทำการสรุปทั้ง 5 ระยะการปรับตัวในวงจรการจองที่พัก ซึ่งได้แก่ ระยะเติบโตจากการท่องเที่ยวในประเทศ (Domestic Acceleration), ระยะคงที่ (Plateauing), ระยะอ่อนไหว (Flux), ระยะตอบรับกับความเปลี่ยนแปลง (Embracing), ระยะเติบโตจากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ (International Acceleration)

อ้างอิงจาก 5 ระยะการปรับตัวฯ อุตสาหกรรมโรงแรมของประเทศไทยกำลังอยู่ในระยะคงที่ (Plateauing) หลังจากการจองที่พักในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในเดือน พฤษภาคม และ มิถุนายน และค่อยๆเข้าสู่ระยะคงที่ในอัตรา 40% ของมูลค่าการจองที่พักของปี 2019

รายงานของ SiteMinder ฉบับล่าสุดดึงข้อมูลการจองที่พักของโรงแรมกว่า 35,000 แห่ง แบบเรียลไทม์จาก World Hotel Index ของ SiteMinder และสำรวจความคิดเห็นจากนักท่องเที่ยวชาวไทย ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี แม็กซิโก สเปน อังกฤษ และอเมริกา กว่า 5,000 คน รวมถึงการพูดคุยกับผู้ให้บริการที่พัก 6 เดือนหลังจากยอดการจองทั่วโลกตกไปต่ำกว่า 9% ของอัตราการจองเดือนเมษายน ปี 2019 ซึ่งเป็นอัตราการจองที่ต่ำที่สุด

“หลายๆ คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคงสงสัยว่าอุตสาหกรรมนี้จะมีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ ซึ่งเราคิดว่ามันจะต้องกลับไปอย่างแน่นอนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพียงแต่ว่าอาจมีหลายสิ่งที่จะเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแบบถาวร” มร.  แบรด ไฮนส์, รองประธานกรรมการบริษัท SiteMinder ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค กล่าว

SiteMinder travel 1

รายงานของ SiteMinder ฉบับล่าสุดเผยว่ามีหลายเทรนด์ที่เกิดขึ้นในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจองทริปแบบกะทันหัน ความต้องการท่องเที่ยวเมืองชายฝั่งหรือภูมิภาคที่มีประชากรน้อย มากกว่าเมืองใหญ่อย่างเห็นได้ชัดเจน ตามรายงานของSiteMinder ที่ได้รายงานไปเมื่อเดือนพฤษภาคม อย่างในประเทศไทย ที่มีปริมาณการจองที่พักในกรุงเทพฯเมื่อเทียบกับปีก่อนเพียง 29% แต่มีการจองที่พักบนเกาะสมุยมากกว่าปีที่แล้วสูงถึง 37%

[catlist id=59 numberposts=5 excludeposts=this]

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับมหภาคอื่นๆ ได้แก่การลดระยะเวลาการเดินทางที่สั้นลง ความต้องการความยืดหยุ่นสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การยกเลิก/แก้ไขการจองที่พักโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งกลายมาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวจำนวนเกือบ 1 ใน 3

“COVID-19 เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ทำให้เราเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจที่ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการการท่องเที่ยวและที่พัก หรือตัวนักท่องเที่ยวเองที่ไม่มีใครสามารถควบคุมได้ มร.  แบรด ไฮนส์ กล่าวเสริม “การเดินทางท่องเที่ยวไม่ใช่สิ่งที่เราจะสามารถทำแบบทิ้งขว้าง หรือไม่เห็นความสำคัญได้อีกต่อไป ความสามารถในการเดินทางท่องเที่ยวอย่างเสรีกลายเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ใครก็ทำได้   ส่งผลให้ในอนาคต ลูกค้าจะมีความระมัดระวังในการเลือกมากขึ้น และใช้เวลาเตรียมตัวหรือจองที่พักสั้นลง ทำให้การคาดการณ์ยอดการจองที่พักในอุตสหากรรมโรงแรมทำได้ยากมากขึ้น”

ผลสำรวจของ SiteMInder ยังพบอีกว่า แม้ว่าการระบาดใหญ่ในครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของหลายๆ คน โดยมากกว่า 3 ใน 4 ของนักท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ “มาก” หรือ “ค่อนข้างมาก” แต่มากกว่า 85% บอกว่าพวกเขามีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศอีกภายในสิ้นปี 2564 นี้