Around Town

“เครียด โกรธ วิตกกังวล ตัวเราจัดการได้” ของนานมีบุ๊คส์

1 Mins read

บางครั้งท่านผู้อ่านอาจเคยนอนไม่ค่อยหลับ กลัดกลุ้มหลายๆเรื่องโดยไม่จำเป็น หรือแม้แต่ในบางสถานการณ์ก็อาจแสดงความโกรธมากเกินควร โดยที่ตัวเองก็ยังไม่เข้าใจตัวเองว่าทำไมถึงรู้สึกโกรธจัดขนาดนั้น ไปจนถึงการที่ท่านผู้อ่านก็อาจเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจในตัวเอง ไม่ค่อยชอบตัวเองขึ้นได้

เราต่างทราบดีว่าเมื่อมีสุขภาพจิตที่ดี สุขภาพกายก็ย่อมแข็งแรงตามไปด้วย แต่หากเรามีสุขภาพจิตที่ไม่ดีแล้ว สุขภาพกายก็พลอยอ่อนแอแย่ไปตามกัน ปัญหาเรื่องสุขภาพจิตจึงถือเป็นปัญหาที่บั่นทอนชีวิตของมนุษย์อย่างคาดไม่ถึง หากเราไม่รู้วิธีรับมือหรือจัดการกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตแล้ว ปัญหาสุขภาพจิตก็อาจนำไปสู่สารพัดโรคทางใจจนกลายเป็นโรคซึมเศร้า ตลอดจนปัญหาสุขภาพต่างๆด้วย

ปัจจุบันการบำบัดโรคทางใจมีหลากหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นการพบจิตแพทย์ การทำจิตบำบัด การใช้ยา แต่ก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศและเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในประเทศไทย นั่นก็คือ “การบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy)” หรือที่เรียกว่า CBT

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมเป็นจิตบำบัดรูปแบบหนึ่งที่เน้นการแก้ปัญหา ออกแบบมาเพื่อบรรเทาอาการและส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป็นการมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนรูปแบบความคิดที่สร้างปัญหา และเน้นฝึกการกระทำที่ช่วยพัฒนาตัวเราเอง

วันนี้เราจึงมีหนังสือ “10 วิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม” มาแนะนำท่านผู้อ่าน โดยหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการจัดการภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล โกรธ กลัว กลัดกลุ้ม

[catlist id=21 numberposts=5 excludeposts=this]

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมนั้นมีจุดเด่นอยู่ 2 ประการ ประการแรกคือ CBT เป็นวิธีการที่เรียบง่าย เน้นไปที่การทำกิจกรรมที่ให้ความสุข การคิดถึงเรื่องดีๆ เผชิญหน้ากับความกลัว อยู่กับปัจจุบัน และการดูแลตัวเอง CBT ไม่ใช่วิธีที่ซับซ้อนหรือชวนให้ตื่นตระหนกเลย นอกจากนั้นจุดเด่นประการที่สองของ CBT คือการทำตามได้ไม่ง่าย แม้ CBT อาจดูเรียบง่ายแต่ก็ต้องใช้ความพยายาม อาจเป็นเรื่องที่ยากที่ท่านผู้อ่านต้องฝืนทำสิ่งที่ตัวเองรักขณะรู้สึกซึมเศร้าและไร้แรงบันดาลใจ หรืออาจเป็นเรื่องยากที่จะต้องเผชิญหน้าความกลัว ข่มจิตใจที่ว้าวุ่นให้สงบลงให้ได้ขณะที่ท่านผู้อ่านกำลังรู้สึกตื่นตระหนก ในช่วงเวลาเช่นนี้คือเราจะเห็นประสิทธิภาพของ CBT เป็นอย่างมากเพราะนอกจาก CBT จะมอบเป้าหมายให้เราฝ่าฟันไปให้ถึงเป้าหมายแล้ว CBT ยังมีเทคนิคและแผนการที่ทำได้จริงเป็นและเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วย ท่านผู้อ่านให้ไปถึงเป้าหมายอีกด้วย

ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้อย่างดอกเตอร์เซท เจ. กิลลิแฮน นักจิตวิทยาและผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการรักษาเชิงจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้เขียนบทความและหนังสือกว่า 40 เรื่องเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบำบัดเชิงความคิดและพฤติกรรม (CBT) สำหรับรักษาโรควิตกกังวลและซึมเศร้า รวมถึงเรื่องการทำงานของ CBT และการสร้างภาพสมองเพื่อศึกษาภาวะทางจิต

หนังสือ “10 วิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม” จึงมีประโยชน์ทั้งสำหรับผู้ที่ไม่เคยรู้จัก CBT มาก่อน ผู้ที่กำลังรักษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตกับนักบำบัด หรือผู้ที่เคยใช้งาน CBT มาแล้วในอดีต แต่ต้องการแหล่งข้อมูลเพื่อฟื้นฟูความทรงจำเกี่ยวกับ CBT เป็นครั้งคราว ไม่ว่าท่านผู้อ่านจะมีความรู้เกี่ยวกับ CBT มากน้อยแค่ไหน ท่านผู้อ่านก็สามารถกลับมาอ่านหนังสือ”10 วิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม” ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ เพราะเราทุกคนล้วนจำเป็นต้องมีคู่มือที่ช่วยย้ำเตือนถึงวิธีการที่จะทำให้เรากลับมา รู้สึกดีอีกครั้ง

เมื่อพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตที่ดีแล้ว หนังสืออีกเล่มหนึ่งของนานมีบุ๊คส์ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือหนังสือ “ซึมเศร้า…เล่าได้” หนึ่งในหนังสือที่ขายดี และติดอันดับ Best Seller ตามร้านหนังสือชั้นนำมานานหลายเดือน

ปกหน้า ซึมเศร้า...เล่าได้

โรคภัยไข้เจ็บชนิดอื่นๆผู้คนมองเห็นอาจมองเห็นสังเกตอาการได้ด้วยตาเปล่า อย่างเมื่อเราเป็นหวัดคัดจมูก ก็จะมีอาการมีน้ำมูก เจ็บคอ มีไข้ แต่โรคซึมเศร้ากลับไม่เป็นเช่นนั้น ครอบครัวและคนในสังคมมักจะมองไม่เห็นอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เนื่องจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าพูดได้ เดินได้ แขนขาแข็งแรงดี หากมองจากภายนอกอาจดูไม่ออกว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเจ็บป่วยตรงไหน คนรอบข้างจึงไม่เข้าใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยอย่างไม่ถูกต้องนัก

คนทั่วไปอาจมองว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช่โรค เราพบเห็นอคติที่มีต่อโรคซึมเศร้าได้บ่อยครั้ง อิทธิพลจากสื่อทำให้คนมองว่าผู้ป่วยคิดมากเกินไป มีนิสัยเกียจคร้านและชอบคิดฆ่าตัวตาย อาจเพราะคำว่า “ซึมเศร้า” เป็นคำที่พลังของตัวอักษรที่ไม่รุนแรง ไม่น่ากลัว ทำให้ผู้คนมองข้ามและไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคนี้

ในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาผลการสำรวจต่างๆได้แสดงให้เราเห็นว่าจำนวนของตัวเศร้าซึมมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและก่อให้เกิดภาระต่อสังคมส่วนร่วมโดยในประเทศไทย กรมสุขภาพจิตระบุว่าคนไทยตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นขึ้นไปป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจำนวน 1.5 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 3 ของประชากรทั้งประเทศ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 59 เท่านั้นที่เข้ารับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี

“ซึมเศร้า…เล่าได้” บอกเล่าเรื่องราวของโรคซึมเศร้าผ่านเนื้อหาวิชาการสลับไปกับเรื่องราวการ ผจญภัยของผู้ป่วยที่มี “ตัวเศร้าซึม” ที่มีหางสีดำ ขนสีดำ หูขนาดมหึมา และมีกรงเล็บอันแหลมคม คอยติดตามเราไปทุกหนแห่ง บางครั้งที่เราเผลอ ตัวเศร้าซึมก็อาจจะเข้ามายุ่งวุ่นวายกับชีวิต ทำให้ชีวิตของเรายุ่งเหยิง ไร้ระเบียบ ท่านผู้อ่านจะได้เห็นว่าโรคซึมเศร้าจะรุนแรงมากขึ้น หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง โดยความรุนแรงสูงสุดของตัวเศร้าซึม คือ การทำให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตาย แต่กว่าจะถึงความรุนแรงสูงสุดของตัวเศร้าซึมนั้น สิ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยทรมานมากที่สุดคือการที่ความสามารถในการทำงานลดลง วางแผนการทำงานไม่ได้ ต้อนรับลูกค้าไม่ได้ สูญเสียความสามารถที่ง่ายแสนง่ายอย่างการคิดเลข เป็นต้น หรือหากผู้ป่วยยังอยู่ในวัยเรียน ผู้ป่วยก็อาจเรียนหนังสือไม่ได้ ฟังครูพูดไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือไม่ได้

นอกเหนือจากผู้ป่วยวัยเรียนและวัยทำงานแล้ว หนังสือยังลงรายละเอียดถึงผู้ป่วยซึมเศร้าประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยวัยเด็ก แม่บ้าน วัยชรา รวมถึงโรคซึมเศร้าอีกบางประเภทอย่าง โรคซึมเศร้าในฤดูหนาว โรคซึมเศร้าหลังคลอด ผ่านเนื้อหาที่อ่านง่าย มีรูปของตัวการ์ตูนที่แสดงให้เห็นการตามติดของตัวเศร้าซึม เพื่อตอกย้ำให้เราเห็นว่าตัวเศร้าซึมถือเป็นสิ่งแปลกปลอมของชีวิตคนเราจริงๆ

ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่เพียงภาพลายเส้นที่แสนจะน่ารัก หรือข้อมูลวิชาการที่ถูกคลี่คลายมาให้อ่านง่าย แต่หนังสือเล่มนี้เป็นการยื่นมือเข้าหาผู้ป่วยหรือผู้ที่กำลังสงสัยว่าตัวเองอาจจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ให้มีอาวุธในการต่อสู้กับโรคนี้ได้เด็ดขาดและรวดเร็วขึ้น ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านเข้าใจตัวเศร้าซึม เจ้าสัตว์ประหลาดตัวเล็กแสนซนตัวนี้อย่างถูกต้องไปด้วยกัน