Around Town

ตอกย้ำบทบาท อว. พัฒนาคุณภาพคน – เทคโนโลยี หัวใจของการฟื้นตัวและสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่เข้มแข็งระยะยาว

1 Mins read

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ยังคงจัดเวที Recovery Forum ต่อเนื่อง โดยในสัปดาห์นี้ได้เชิญ นายสุวิทย์ สรรพวิทยศิริ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง มาแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “แนวทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศไทยในยุคการฟื้นฟู”

นายสุวิทย์ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลจากการรายงานของ UNTAD เกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ของวิด-19 ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างประเทศ ที่แบ่งผลกระทบออกเป็นระยะสั้น กลาง ยาวว่า ผลกระทบระยะสั้น ในปี 2564 เศรษฐกิจจะถดถอยจากข้อจำกัดในการเคลื่อนที่ของคนและสินค้า ระยะกลาง ปี 2565 ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจลดน้อยถอยลง การพึ่งพาเพื่อนบ้าน ภูมิภาคมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และผลกระทบต่อเศรษฐกิจระยะยาว ราวปี 2573 บทบาทของห่วงโซ่การผลิตและภูมิต้านทานจากระบบอัตโนมัติจะเป็นปัจจัยกำหนดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังได้มีการพูดถึงรายงานคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจากรายงานของ IMF ที่มีการรายงานเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 ที่คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกหดตัวร้อยละ -4.9 ในปี 2563 จากสาเหตุการปิดเมืองและผลจาการหยุดชะงักของกิจกรรมต่างๆ การบริโภคสินค้าและบริการที่ลดลงอย่างมาก การเดินทางยังคงถูกปิดกั้น ผลกระทบที่ส่งผลต่อตลาดแรงงานอย่างรุนแรง การค้าหดตัว รวมถึงอัตราเงินเฟ้ออ่อนค่าลง ส่วนในปี 2564 คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 5.4 ส่งผลให้ GDP ปี 2564 ต่ำกว่าการคาดการณ์ก่อนมีการระบาดของโควิด-19 ที่ร้อยละ 6.5

[catlist id=74 numberposts=5 excludeposts=this]

S 68976651

นอกจากนี้ รายงานจากมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ได้ฉายภาพผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อประเทศไทย โดยคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 แต่จำนวนนักท่องเที่ยวยังต่ำอยู่ที่ประมาณ 30 ล้านคน คาดการณ์การขาดดุลการคลังของรัฐบาล 1 ล้านล้านบาท และประชาชน ภาคธุรกิจ รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาระยะสั้น โดยเฉพาะปัญหาการว่างงานและการปรับโครงสร้างธุรกิจต่อไป สำหรับการคาดการณ์ในปี 2565 คาดว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงกลไกรัฐในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ การสร้างเครือข่ายเตือนภัยทางเศรษฐกิจจะรัดกุมขึ้น บทบาทของเทคโนโลยีในการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะมีการนำมาใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐ บทบาทของเงินตราดิจิทัลจะเริ่มส่งผลต่อภาคสถาบันการเงินและการค้าระหว่างประเทศ การเกิดขึ้นของสังคมไร้เงินสด โครงข่ายคมนาคมขนาดใหญ่จะเริ่มเปิดดำเนินการทั้งรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รถไฟฟ้าสายสีเขียว สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีส้ม รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทั้งนี้ หากไทยยังไม่มีการปรับโครงสร้างด้านผลิตภาพการผลิตทั้งกำลังคน การศึกษา เทคโนโลยี ให้มีความเข้มแข็งและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ รัฐสวัสดิการจะเริ่มเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจัดสรรงบประมาณของภาครัฐมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น

“เทรนด์เศรษฐกิจโลกที่มีผลกระทบต่อไทยไม่ได้มีแค่โควิด-19 แต่ยังรวมถึงกับดักรายได้ปานกลาง ที่ปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 7,000 ดอลล่าร์สหรัฐ/คน/ปี ซึ่งเวิด์ลแบงค์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ประเทศพัฒนาแล้วว่าคต้องมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 12,450 ดอลล่าร์สหรัฐ/คน/ปี หากมองตัวเลขนี้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของไทยเทียบได้แค่ระดับเพียงครึ่งของประเทศที่พัฒนาแล้ว และจากการวิเคราะห์พบว่า ไม่มีประเทศไหนที่สามารถก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางได้หากยังคงเป็นประเทศรับจ้างผลิต และไม่สามารถก้าวข้ามสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุได้หากไม่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งหากไทยเรายังไม่เร่งเครื่องเพื่อสร้างรายได้ต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้น เกณฑ์รายได้ของประเทศที่พัฒนาแล้วที่ถูกกำหนดไว้เดิมจะขยับสูงขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นการฟื้นของเศรษฐกิจไทยครั้งนี้ต้องฟื้นบนสปริงบอร์ด ที่ต้องอาศัยกุญแจสำคัญ คือ การพัฒนาคุณภาพของคนในประเทศ ผนวกกับการพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่จะนำมาซึ่งอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแก่นของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่เข้มแข็งในระยะยาว และ อว. จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาทั้ง 2 ส่วนนี้” นายสุวิทย์ กล่าว
นอกจากนี้ วิทยากรยังได้แลกเปลี่ยนถึงการเตรียมความพร้อมด้านสถานการณ์แรงงานยุคนิวนอร์มัลว่า ควรมีการสร้างปัจจัยแวดล้อม (Ecosystem) ทางด้านข้อมูลแรงงานทั้งระบบให้มีศูนย์กลางเพียงหนึ่งเดียว สร้างการรับรู้และจัดทำ Job Landscape เกี่ยวกับงานในอนาคตที่สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป้าหมายของแต่ละพื้นที่ มีการออกแบบหลักสูตรพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับงานในอนาคตที่สอดคล้องกับทักษะแรงงานแห่งอนาคต จัดทำมาตรฐานงานในอนาคตในพื้นที่นำร่องเชิงยุทธศาสตร์ EEC

ด้าน ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. ได้แลกเปลี่ยนถึงแนวทางการขับเคลื่อนไทยหลังโควิด ที่แต่เดิมประเทศอาจมุ่งเน้นความมั่งคั่ง แต่โลกหลังโควิดการมุ่งให้เกิดเพียงความมั่งคั่งในประเทศอาจไม่ใช่คำตอบ แต่เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางสุขภาพ การกระจายโอกาส กระจายความสามารถ กระจายความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำ จะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นคงให้กับประเทศมากกว่าการมุ่งเพียงความมั่งคั่งเพียงมิติเดียว ซึ่งการจะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้จะต้องมีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจท้องถิ่น สร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจที่พึ่งพาต่างประเทศ ทั้งการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้า ซึ่งจะต้องมาออกแบบกลไกให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจรากหญ้าที่ต้องทำให้เงินหมุนเวียนในพื้นที่นานๆ ก่อนจะหมุนออกไปข้างนอก