Around Town

วสท. เปิดเวทีเสวนา เรื่อง วิศวกรไทย 2021 กับการปรับตัวในโลกยุควิถีใหม่

1 Mins read

ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2563 (National Engineering) ซึ่งจัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปิดเวทีเสวนาเรื่อง วิศวกรไทย 2021 กับการปรับตัวในโลกยุควิถีใหม่ โดยมี 3 ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศ เปิดมุมมองและเทคนิควิธีการปรับตัว เพื่อเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนธุรกิจ และเปลี่ยนโลกไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง โดยมี ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ประธานคณะกรรมการวิศวกรรมระบบราง วสท. เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี เมื่อเร็วๆ นี้

4.ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ..

ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิตและผู้อำนวยการ สถาบันนวัตกรรมบูรณาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ใน 50 ปีที่ผ่านมา วิชาชีพวิศวกรรมได้ขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงโลกแห่งนวัตกรรมและการค้าอุตสาหกรรมมากมาย ดังจะเห็นได้ชัดจาก Skylines แนวขอบฟ้าของเมืองต่างๆทั่วโลก ที่มีความทันสมัยและเป็นสมาร์ทซิตี้มากขึ้น ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นกุญแจดอกสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เกิดการพัฒนา Digitization ในวงการวิศวกรรมและออกแบบ ช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลเกิดประสิทธิภาพและบูรณาการ สามารถออกแบบโครงสร้างต่างๆ อย่างไร้ขีดจำกัด ในอนาคตทุกอย่างจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยี วิศวกรจึงจำเป็นต้องสร้างเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์ควบคู่กับการเปิดรับองค์ความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีใหม่ที่จะเปลี่ยนผ่านการทำงานของวิศวกร ได้แก่ 1. หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จะเข้ามาช่วยในกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบ ก่อสร้างและการทำงานของวิศวกร สามารถทำงานภายใต้ข้อจำกัดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ประหยัดเวลา ประหยัดต้นทุนและกำลังคน 2. เทคโนโลยี 3D Printing ปฏิวัติการก่อสร้างจากรูปแบบเดิมๆ ช่วยปลดล็อคงานออกแบบสู่ความเป็นอิสระ 3. โดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ นำมาใช้เพื่อการสำรวจพื้นที่และอาคาร ช่วยวิศกรให้ทำงานได้สะดวกรวดเร็ว และประหยัดแรงงานได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน  4. BIM ช่วยสร้างแบบจำลอง 3 มิติ ทำให้วิศวกรและสถาปนิกสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ส่งแบบได้ง่าย ปรับเปลี่ยนแบบ คำนวณต้นทุนได้ง่าย สามารถ Up Scale และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการคัดลอกซ้ำ รวมถึง VR/AR ซึ่งจะช่วยให้การเสริมวัตถุจำลองเข้าไปในวัตถุและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่จริง ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งก่อสร้างแบบเสมือนจริง

ทั้งนี้ วิศวกรยุคใหม่ 2021 จะต้องมีความรู้และความสามารถใน การเพิ่มอัจฉริยภาพ (Smartness) ให้เมืองมีความสมาร์ทและทันสมัย ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล (Digital Infrastructure) ในด้านต่างๆ ทั้งการใช้ข้อมูลของผู้ใช้บริการสาธารณะในการปรับปรุงบริการสาธารณะและทำนายอุปสงค์ของพลเมือง รวมถึงการใช้ระบบเซนเซอร์ (Sensors) สำหรับจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้บริการและใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายผู้ให้บริการ กระตุ้นให้ประชาคมเมืองมีส่วนร่วมและผูกพันให้เกิดพลังสามัคคีก้าวเดินไปด้วยกัน

แนวโน้มวิถีการทำงานทางวิศวกรรมในอนาคต แม้ว่าปัจจุบันปัญหาโควิด-19 ยังแพร่ระบาดในหลายภูมิภาคโลก แต่ในทางกลับกันยังทำให้วิถีชีวิตของวิศวกรและผู้คนเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น 1. Work From Home / Online Meeting เป็นการลดค่าใช้จ่ายภายในสำนักงาน และลดการเสียเวลาในการเดินทางของพนักงาน โดยต้องกำหนด KPI ชุดใหม่ ที่ไม่วัดด้วยเวลาในการทำงาน แต่วัดด้วยปริมาณผลงานหรือความก้าวหน้าของโครงการ 2. Gig Economy งานไม่ประจำ รับจ้างเป็นครั้งๆ จะมาแทนที่การจ้างงานแบบนายจ้าง-ลูกจ้าง โดยเฉพาะในวิชาชีพ เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี นักกฎหมาย เป็นต้น 3. Fund Efficiency บริษัทวิศวกรรมจะเปลี่ยนตัวชี้วัดจากผลผลิตมาเป็นประสิทธิภาพของการใช้เงินทุน ซึ่งบริษัทที่ใช้เงินต้นทุนน้อยและเงินสดหมุนเวียนมากจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน 4. Get Jobs Anywhere, Produce Anywhere And Deliver Anywhere ผลิตภัณฑ์วิศวกรรมทุกอย่างจะต้องแปลงให้เป็นดิจิทัล เพื่อสามารถส่งให้ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องได้ทางออนไลน์ สิ่งนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดว่า รับงานที่ไหนก็ได้ ผลิตงานที่ไหนก็ได้ และส่งงานที่ไหนก็ได้ 5. Business Shift To Areas With Great Potential To Scale Up บริษัทที่จะอยู่รอดได้ในอนาคตจะต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนธุรกิจ ไปสู่ธุรกิจที่ยังมีช่องว่างในการขยายตัว เช่น วิศวกรรมเมืองอัจฉริยะ เทคโนโลยีสุขภาพ พลังงานสะอาด วิศวกรรมพันธุกรรม ซอฟต์แวร์ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI)

6.รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล

[catlist id=30 numberposts=5 excludeposts=this]

รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า วิศวกรไทยต้องยกระดับการทำงานด้วยความรู้ ประสบการณ์ และปรับตัวพัฒนาในสิ่งที่ AI ทำไม่ได้ หรือทำได้ไม่ดีเท่ามนุษย์ หลายคนเข้าใจว่าเรื่องของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นสิ่งใหม่ แต่จริงๆ แล้วในแวดวงวิศวกรรม AI ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ช่วงปี 80 ซึ่งปัจจุบันได้ขยายบทบาทการใช้งานมากขึ้น เนื่องจากประสิทธิและความสามารถที่เพิ่มขึ้น การค้นหาข้อมูลมหาศาลภายในไม่กี่วินาที อีกทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังช่วยเร่งการพัฒนาด้าน AI เพิ่มขึ้น เพราะมี Drive Force งานวิจัยสิ่งที่ต้องการเอาชนะร่วมกัน การคิดนอกกรอบภายใต้ขีดจำกัด ทั้งด้านเวลา เงินทุน และความปลอดภัย ดังนั้นวิศวกรยุคใหม่จำเป็นต้องเตรียมพร้อม คือ 1. Environmental Scanning ติดตามก้าวทันสถานการณ์ของโลกที่ไร้พรมแดน 2. Relevant Positioning เลือกปรับธุรกิจให้ตรงกับแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงของโลก 3. ReSkilling Strength ปรับเปลี่ยนทักษะจุดแข็งให้ตรงกับธุรกิจที่มีศักยภาพในอนาคต 4. Globalization พร้อมทำงานกับบุคลากรในหลากหลายวัฒนธรรมและวิชาชีพ

7.ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์

ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ รองผู้อำนวยการภารกิจกำกับติดตามการใช้งบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ปัญหาที่น่ากังวลและน่าเป็นห่วงมากยิ่งกว่าไวรัสโคโรน่า คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกและปัญหามลพิษ โดยจะเห็นว่าเมื่อโควิด-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก รัฐบาลไทยได้สั่งให้มีการล็อคดาวน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งช่วยลดการปลดปล่อยมลพิษได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น และช่วยยืดระยะเวลาการใช้ทรัพยากรประเทศเพียง 3 สัปดาห์ แต่คลื่นกระทบใหญ่ที่กำลังตามมาคือ ปัญหาขยะเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปัญหาสารเคมีปนเบื้อนในแหล่งน้ำและระบบนิเวศน์ ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีฆ่าเชื้อโรค

รวมถึงในด้านสิ่งแวดล้อม วิกฤติโควิด-19 ทำให้เกิดการปรับจุดอ้างอิงใหม่ (Arbitrary Coherence) เป็นการกระตุ้นจิตสำนึกให้ผู้คนใส่ใจถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษกันเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นวิศวกรทุกสาขาต้องร่วมพลังกันเพื่อช่วยกันรับมือกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ 1. การเป็นผู้นำวิศวกรรรมใหม่ๆ (Circular Economy) ในการนำเสนอเทคโนโลยีที่ดีให้กับลูกค้า 2. การเป็นผู้นำเสนอทางเลือกวิศวกรรมที่รับผิดชอบ (Internalize Externality) โดยคำนึงถึงความยั่งยืน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผลกระทบอย่างรอบด้าน 3. การเป็นผู้ร่วมออกแบบสังคมใหม่ (Social Co-Designer) เนื่องจากวิศวกรเป็นจุดเริ่มจุดแรกของการพัฒนาเมือง จึงมีบทบาทสำคัญที่จะส่งผ่านการพัฒนาด้วยบริการและเทคโนโลยีที่สะอาด การพัฒนาสมาร์ทซิตี้เข้าไปในระบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกมิติและเกิดองค์ความรู้ที่ยั่งยืนต่อชุมชนเมือง ประเทศ และสังคมโลก