Around Town

ทำความรู้จักกับโซล่ารูฟท็อปโรงงาน จากแบรนด์ Sorarus ควรค่าแก่การติดตั้งหรือไม่?

1 Mins read

แสงอาทิตย์ ถือเป็นอีกหนึ่งพลังงานทดแทนจากธรรมชาติ ที่สะอาด และไม่มีวันหมดไป จึงมีการคิดค้นหาวิธีที่จะใช้พลังงานจากธรรมชาติ ทดแทนการใช้พลังงานที่มีความสิ้นเปลือง และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างพลังงานฟอสซิส ที่ประกอบไปด้วย น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซ และหนึ่งในพลังงานธรรมชาติที่ทรงพลัง และเหมาะกับประเทศไทยนั้นก็คือ พลังงานแสงอาทิตย์ โดยการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นกระแสไฟฟ้านั้นต้องอาศัยแผงโซล่าเซลล์ หรือมีอีกชื่อหนึ่งคือ Solar PV (Photovoltaic) โดยเราจะมาทำความรู้จักกับแผงโซล่าเซลล์สำหรับโรงงาน ที่มักจะเรียกกันว่าโซล่ารูฟท็อปโรงงานให้มากขึ้นกัน พร้อมกับข้อพิจารณาสรุปว่าสมควรแก่การติดตั้งหรือไม่?

แผงโซล่าเซลล์ หรือโซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) คืออะไร?

แผงโซล่าเซลล์ หรือโซล่ารูฟท็อป คือการที่นำแผงโซล่าเซลล์ไปติดตั้งบนหลังคาของโรงงาน หรือบ้านเรือน เพื่อให้สามารถรับแสงแดดได้เต็มที่ จากนั้นจึงนำพลังงานความร้อนมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงบ้านเรือนด้วยเช่นกัน ด้วยวิธีนี้ทำให้ผู้คน และเจ้าของโรงงานสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง ช่วยลดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนลงไปได้ในระยะยาว

การทำงานของโซล่ารูฟท็อป

  1. แผงโซล่าเซลล์จะทำการรับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาเก็บไว้ ซึ่งภายในแผงโซล่าเซลล์นั้นประกอบไปด้วย วัสดุนำไฟฟ้าที่คั้นกลางระหว่าง แผ่นแก้ว เรซิ่น และโพลีเมอร์
  2. จากนั้นวงจรภายในแผงจะเริ่มผลิตพลังงานไฟฟ้าขึ้นมา กระแสไฟฟ้าที่ได้ออกมาจะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC (Direct Current)
  3. ไฟฟ้ากระแสตรงวิ่งไปที่เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า Inverter เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ AC (Alternating Current) หลังจากนั้นจึงจ่ายเข้าตู้ควบคุมไฟในอาคาร เกิดเป็นกระแสไฟฟ้าที่ใช้ภายในอาคาร

แผงโซล่าเซลล์มีอยู่ 3 ประเภทหลักด้วยกัน ซึ่งจะแตกต่างกันในด้านของประสิทธิภาพการทำงาน และค่าใช้จ่าย

1. Types of Solar Panels
  1. แผงโซล่าเซลล์ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline)

ผลิตจากซิลิคอนบริสุทธิ์ผลึกเดี่ยว ถือเป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีเกรดดีที่สุดในท้องตลาดตอนนี้ มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้สูง มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปี ในขณะเดียวกันก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงด้วยเช่นกัน

  • แผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline)

ผลิตจากซิลิคอนที่มีการนำมาหลอมละลาย และเข้ารูป มีการใช้ซิลิโคนน้อยกว่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ และมีขั้นตอนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ แต่ก็มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเช่นกัน ซึ่งจะอยู่ในช่วง 20 – 25 ปี และมีราคาที่ถูกกว่า

  • แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film)

เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่ทำมาจากสารหลักคือ สารอะมอฟัส ซิลิโคน นำมาฉาบเป็นแผ่นฟิล์ม มีความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้น้อย แต่มีน้ำหนักเบา และกินพื้นที่ไม่มาก ทั้งยังมีราคาถูกที่สุด

ข้อพิจารณาสำหรับการเลือกแผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ และแบบโพลีคริสตัลไลน์ คือ หากคุณมีพื้นที่จำกัด และต้องการกำลังการผลิตไฟฟ้าที่สูงให้เลือกเป็นแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แต่หากคุณมีพื้นที่พอสมควร และอยากประหยัดต้นทุนก็ให้มองเป็นแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์

ข้อพิจารณาของแผงโซล่าเซลล์ กับโรงงานการผลิต

แผงโซล่าเซลล์จะทำงานร่วมกับไฟฟ้า ที่ระบบการทำงานจะนำกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์มาใช้ก่อน หากในกรณีที่โรงงานมีการใช้ไฟฟ้าเยอะกว่าปริมาณที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตได้ ก็จะมีระบบดึงกระแสไฟฟ้าปกติมาใช้งาน ทำให้การผลิตสามารถดำเนินต่อไปได้ และหากมีการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตได้ ระบบจะทำการจ่ายคืนกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้า ทำให้เราสามารถสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าได้ด้วย

แน่นอนว่าการติดตั้งโซล่ารูฟท็อปโรงงาน นั้นต้องมีการพิจารณาในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการคำนวณถึงจุดคุ้มทุน การคำนวณพื้นที่ โครงสร้างของตัวอาคาร ภาพรวมของการใช้ไฟฟ้าในโรงงานตลอดทั้งปี และอื่น ๆ อีกมากมาย ให้ Sorarus บริษัทผู้เชี่ยวชาญเรื่องของพลังงานทดแทนอย่างการใช้พลังงานความร้อน มาช่วยเตรียมความพร้อม และให้คำปรึกษาอย่างละเอียด ถึงการออกแบบแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุด โดยทาง Sorarus มีทีมงาน และทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์ในเรื่องของโซล่าเซลล์มามากกว่า 40 ปี พร้อมให้คำปรึกษาในทุก ๆ ขั้นตอน

โดยสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญได้ฟรี ที่

เว็บไซต์: https://www.sorarus.com/solution/solar-pv-system/

Line Official

เบอร์โทรศัพท์: 089 608 7999